สมาคมหมูภาคใต้ วอนรัฐบบาล อย่าเพิ่ง “ควบคุม” ราคาหมู ขยับร่วม 3 ครั้ง เป็น 70 บาท / กก.


สมาคมหมูภาคใต้ วอนรัฐบบาล อย่าเพิ่ง “ควบคุม” ราคาหมู ปรับราคา ร่วม 3 ครั้ง เป็น 70 บาท / กก. ทางภาคใต้ ขณะที่ต้นทุนการผลิตอยู่ที่ 80 บาท / กก. ชี้ถึงรัฐบาลต้องให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรอยู่ได้ และผู้บริโภคอยู่ได้
นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า ทางสมาคมการค้าและเลี้ยงสุกรภาคใต้ ได้ประกาศปรับราคาขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไปเพื่อปรับเข้าสู่ภาวะสมดุล โดยได้ปรับราคาขึ้นมาถึง 3 ครั้ง ตั้งแต่ก่อนเทศกาลสงกรานต์ 2567 มาจนถึงขณะนี้ โดยราคาประกาศของสมาคมการค้าผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ โดยสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม ราคา 70 บาท / กก.แม้ว่าจะมีการปรับราคาแล้วก็ตาม เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรยังประสบภาะขาดทุนอยู่ที่ 10 บาท / กก. เนื่องจากต้นทุนการผลิตปรับตัวมาอยู่ที่ 80 บาท / กก.
และจากการปรับราคาขึ้นมาแล้ว 3 ครั้งเป็นการค่อยเป้นค่อยไปเพื่อป้องกันมิให้กระทบต่อผู้บริโภค และจากการปรับราคาเพื่อให้เกิดภาวะสมดุล และจากการปรับราคาปรากฎว่าเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ต่างกังวลกันว่ารัฐบาลจะเข้ามาดำเนินการควบคุมราคา เพราะรัฐบาลต้องการดูแลผู้บริโภค และสุกรก็เป็นสินค้าที่ควบคุม
“เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรแม้ว่าจะมีการปรับราคาแล้วก็ตาม ก็ยังอยู่ในราคาที่ขาดทุนในขณะที่รัฐบาลมีความเข้าใจ และดูแลผู้บริโภค และทางสมาคมการค้าและผู้เลี้ยงสุกรภาคใต้ ก็มีความมั่นใจว่ารัฐบาลก็มีความเข้าใจเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร เช่นกัน”
นายปรีชา กล่าวอีกว่า เพราะสถานการณ์การเลี้ยงสุกรของเกษตรกรได้ประสบภาวะขาดทุนภาพรวมแล้ว ประมาณ 2 ปี 1. จากสถานการณ์โรคระบาดเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever Virus : ASFV) 2. เรื่องหมูเถื่อนจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้ได้ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรรายย่อย รายเล็ก รายขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่อย่างหนักมาก ต้องประสบภาวะขาดทุนจากการทำลายซากสุกรตอนโรคระบาดเป็นจำนวนมาก และต้องหยุดการเลี้ยงไปชั่วคราว
นายปรีชา กล่าวอีกว่า และเมื่อสถานการณ์ดีขึ้น เกษตรกรกรผู้เลี้ยงสุกร จึงได้หันมาลงทุนเลี้ยงกันใหม่อีกรอบ แล้วต่อมาก็มาได้รับผลกระทบจากที่มีการนำหมูเถื่อนจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศ จึงได้รับผลกระทบที่หนักมาก โดยขาดทุนถึง 2,000 บาท / ตัว ขณะออกขาย หากออกตลาด 100 ตัว เท่ากับขาดทุนประมาณ 200,000 บาท / ล๊อต
“เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรมีประมาณ 200,000 รายทั่วประเทศ ตอนนี้ได้หันมาลงทุนเลี้ยงอยู่ประมาณ 50,000 ราย โดยบางรายที่เคยเลี้ยง 100 แม่ ได้หันมาเลี้ยง 50 แม่ 30 แม่ และ 20 แม่ เป็นต้น เพราะเป็นอาชีพ” นายปรีชา กล่าว.
นายปรีชา กล่าวอีกว่า เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย รายเล็ก รายขนาดกลาง และรายขนาดใหญ่เพื่ออยูได้ จึงเสนอเป็นทางออกไปยังรัฐบาลว่า สาเหตุเพราะต้นทุนการผลิตสุกรสูงมากสูงกว่าาต่างประเทศ ปัจจัยสำคัญต้องนำเข้าวัตถุดิบอาหาสัตว์จากต่างประเทศ โดยอาหารสัตว์นำเข้าจากต่างประเทศมีภาษีที่สูง ทั้งนี้รัฐบาลมีนโยบายป้องกันเพื่อมิให้เกษตรกรที่ปลูกพืชทีเป็นอาหารสัตว์ ไม่ให้ได้รับผลกระทบ เช่น ข้าวโพด เป็นต้น
“ต้นทุนอาหารสัตว์ต่างประเทศ เช่น การเลี้ยงสุกรในประเทศบราซิล ต้นทุนประมาณ 50 บาท / กก. แต่ในขณะนี้ต้นทุนการเลี้ยงสุกรของไทยประมาณ 80 บาท / กก. ดังนั้นรัฐบาลต้องหาทางออกเรื่องอาหารสัตว์เพื่อให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้อยู่ได้ รัฐบาลก็ต้องออกแบบมาสนับสนุนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรและก็ให้ผู้บริโภคอยู่ได้ด้วย ต่างฝ่ายต่างอยู่ได้”
โดย....อัสวิน ภักฆวรรณ