เยี่ยมชม “เกลือหวานปัตตานี” สินค้าของฝากจากเจ้าถิ่นฝั่ง “อ่าวไทย”

เยี่ยมชม “เกลือหวานปัตตานี” สินค้าของฝากจากเจ้าถิ่นฝั่ง “อ่าวไทย”





Image
ad1

ขึ้นชื่อว่า “เกลือ” แล้ว นึกถึงเรื่อง “ความเค็ม” แต่หารู้ไม่ว่า เกลือมีประโยชน์มากมาย นอกเหนือจากการนำมาเป็นเครื่องปรุงอาหารแล้ว ยังนำไปทำปุ๋ยใส่ต้นพร้าวให้เจริญเติบโตได้อย่างดี นอกจากนี้ นำไปทำเครื่องผสมหมักดองอาหารได้หลากหลาย

ยิ่งเมืองไทยมีแหล่งผลิตเกลือมากมาย นับตั้งแต่ภาคเหนือจรดใต้ ทั้งประเภทเกลือสินเธาว์ แถบภาคอีสานนิยมผลิตกันมาก ส่วนเกลือจากภูเขาผลิตกันแถบจังหวัดน่าน   แต่ที่นิยมนำมาบริโภค การปรุงอาหารชั้นเลิศ  คือเกลือจากน้ำทะเล หรือที่เรียกกันว่า “เกลือสมุทร” ถ้านั่งรถผ่านสมุทรสาคร จะเห็นวิธีการทำนาเกลือ ที่วางกันเรียงรายเป็นระเบียบ หรือพ่อค้านำมาใส่ถุงขายอยู่ริมทาง เกลือเหล่านี้จะใช้น้ำทะเลจากฝั่งอ่าวไทยเป็นหลัก

นอกจากนี้ ยังมีอีกหลายๆจังหวัดที่ยึดอาชีพการทำนาเกลือ  แต่สิ่งสำคัญ ทำเลต้องอยู่ติดทะเล สามารถดึงน้ำจากทะเลมาอยู่ในนาเกลือ อย่างในจังหวัดปัตตานี นิยมทำนาเกลือกันเยอะตั้งแต่อดีตกาล และยังมีของดีที่ขึ้นชื่ออีกอย่าง “เกลือหวาน” อยากอธิบายเพิ่มเติม คือว่าไม่ใช่มีรสหวานเหมือนใส่น้ำตาล

“เกลือหวาน” ที่กล่าวว่ามาข้างต้นนี้ จะมีรสเค็ม แต่น้อยกว่าเกลือที่เป็นเมล็ดโตๆนิยมบรรจุถุงขายกัน ทั้งนี้ เนื่องจากทะเลฝั่งอ่าวไทย แถบปัตตานีนั้น รสเค็มเจอจางกว่าเกลือสมุทรจากจังหวัดอื่นทั่วไปคือ ปริมาณความเค็มจะน้อยกว่า เนื่องจากน้ำทะเลบริเวณที่ใช้ระบบการทำนาเกลือนั้น ถูกเจือจางจากน้ำจืดมาจากฝั่งแม่น้ำปัตตานี จะมีส่วนผสมให้ความเค็มลดน้อยลง

ดังนั้น คุณประโยชน์เกลือหวาน สามารถนำมาปรุงอาหารได้ชั้นดี บรรดากุ๊ก ร้านอาหาร นิยมเลือกใช้เกลือหวานกันเยอะ แม้แต่ การนำมาหมักปลาเค็ม ปลาแห้ง ทำน้ำบูดู จะไม่เค็มจัดเหมือนเกลือน้ำทะเลทั่วไป แต่ราคาขายจะต่างกัน อาจสูงกว่าเกลือเม็ดทั่วไป ใครที่เดินทางมาเที่ยวปัตตานี จะถามหาซื้อเกลือหวานกลับไปเก็บไว้ปรุงอาหารกัน ไม่ว่าจะเป็นคนในจังหวัดใกล้เคียง ร้านอาหาร คนมาเลย์จะรู้จักเกลือประเภทนี้กันดี

ซึ่งตามประวัติการทำเกลือหวาน นิยมทำกันมายาวนานตั้งแต่สมัยโบราณ แต่หารู้ไม่ว่า “ปลากุเลาเค็ม”ที่ขึ้นชื่อ จากเมืองนราธิวาส บรรดาพ่อค้า แม่ค้า นิยมมาเลือกซื้อเกลือหวานจากแหล่งปัตตานีไปหมักปลากัน เพราะว่าจะทำให้ปลาไม่มีรสชาติเค็มจัด จึงกลายเป็นเอกลักษณ์ที่ต่างจาก”ปลากุเลา” นำมาจากฝั่งทะเลจังหวัดอื่นๆ

นรูดียานา สาเมาะ แม่ค้าขายเกลือหวาน หมู่บ้านแหลมนก ต.บานา อ.เมือง จ.ปัตตานี กล่าวว่า การทำนาเกลือปัจจุบันในบริเวณย่านดังกล่าว อาจลดน้อยลงไปบ้าง ต่างจากยุคก่อนๆ พื้นที่ทำนาเกลือมีคนทำกันเยอะ ด้วยความที่คนยุคนี้ หันไปประกอบอาชีพอื่นกัน นอกจากคนในท้องถิ่นที่ทำกันมานาน ประกอบกับตลาดเกลือเม็ด ยังไม่คึกคัก แค่ลูกค้าขาจร นักท่องเที่ยวมาซื้อกลับไปปรุงอาหารกัน

นอกจากนี้ ยังมี “ดอกเกลือ”  นำมาใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งเรื่องปรุงอาหาร ผสมน้ำปั่น ทำขนมรสชาติไม่เค็มมาก หรือนำมาฆ่าเชื้อโรค ทำสปาอบผิว ทำผลิตภัณฑ์บำรุงผิวต่างๆ ลักษณะดอกเกลือ จะเป็นผนึกเล็กๆ ลอยเป็นแพเหนือน้ำในผืนนาเกลือ หากเจอลมดอกเกลือจะลอยมาติดขอบคันนา