ทุเรียนใต้ออกผลผลิตสู่ท้องตลาดมิ.ย.ทุเรียนจันทบุรีราคาตกทะลักด้ามขวาน

ทุเรียนใต้ออกผลผลิตสู่ท้องตลาดมิ.ย.ทุเรียนจันทบุรีราคาตกทะลักด้ามขวาน





Image
ad1

“ทุเรียนใต้”ออกผลผลิตสู่ท้องตลาดเดือนมิถุนายน ผวาราคา ทุเรียนจันทบุรี ทะลักใต้  จ.พัทลุง ขายกิโลกรัมละราคา 160 บาท จาก 220 บาท เมื่อปี 2567

เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2568 นายสุพิศ  จิตรภักดี  อดีตผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาเกษตรที่ 5 จ.สงขลา  และเจ้าของสวนทุเรียน ต.แพรกหา อ.ควนขุน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ผลไม้ภาคใต้ในฤดู 2568 ค่อนข้างเสี่ยงจากที่ฝนตกวันเว้นวันได้ส่งผลกระทบดอกที่กำลังบานและที่กำลังออกผลผลิตขนาดเล็กโดยเฉพาะทุเรียนต่างร่วงหล่นกันมาก

“ตัวเลขที่ประเมินผลผลิตผลไม้ภาคใต้ระยะแรก โดยผลผลิตทุเรียนจะเพิ่มขึ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง ก็จะต้องมีการประเมินผลกันใหม่ของทางการที่เกี่ยวข้อง  สำหรับของตนหายไปบางต้นหายไม่ต่ำกว่า 30  %”

นายสุพิศ กล่าวอีกว่า สำหรับทุเรียนแปลงขนาดใหญ่เชิงพาณิชย์ยังจะสามารถรักษาไว้ได้ไม่มีผลกระทบเท่าที่ควร จะมีเทคโนโลยี อาหาร ยา มีการจัดซื้อเป็นล๊อตขนาดใหญ่ ที่จะมีส่วนลดได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตต่ำ แต่มีปริมาณการผลิตและการขายได้มากกว่า  ส่วนรายขนาดเล็กแทบจะไม่มีส่วนนี้ จึงมีความเสี่ยงมากกว่า

นายสุพิศ กล่าวอีกว่า ทุเรียนที่ได้รับผลกระทบก็สามารถก็สามารถฟื้นฟูเป็นทุเรียนทวายได้  แต่จะมีฝนทิ้งช่วงระยะหนึ่งที่จะออกดอกในเดือนกรกฎาคมและจะเก็บเกี่ยวผลผลิตในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2568

“ทุเรียนทางภาคใต้ ผลผลิตในฤดูจะออกประมาณเดือนมิถุนายน 2568 เริ่มต้นที่ จ.ชุมพร ส่วนทางด้านราคาไม่ทราบว่าจะเชื่อมโยงต่อเนื่องมาจากทุเรียนภาคตะวันออกหรือไม่”

ผู้สื่อข่าว รายงานว่า ที่ตลาดแม่ขรี เทศบาลตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง ซึ่งเป็นศูนย์กลางการค้าเศรษฐกิจ จ.พัทลุง ตอนล่าง โดยขณะนี้ทุเรียนจากภาคตะวันออก จาก. นทบุรี โดยลงมาขายปลีก โดยเปิดตลาดวันแรกประมาณ 160 บาท / กก. พันธุ์หมอนทอง และ 120 บาท / กก.พันธุ์พวงมณี โดยเมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2567 ราคาทุเรียนหมอนทอง ราคา 220 บาท / กก. ราคาจะมีส่วนต่างกันเกือบเท่าตัว

“สำหรับทุเรียนจากภาคตะวันนออกโดยเฉพาะ จ.จันทบุรี ที่ส่งออกต้องได้ขนาด 75 % หากเทียบกับทุเรียนทางภาคใต้ จะต้องได้เนื้อ 90  % จึงจะเทียบกันได้กับทุเรียน จ.จันทบุรี ต้องยอมรับว่าคุณภาพทุเรียน จ.จันทบุรี ดีกว่ามาก”.

รายงานข่าวจากสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 5 จ.สงขลา ดูแลพื้นที่ภาคใต้ ระบุว่า ผลไม้ในฤดูปี 2568 จะมีการประชุมใหญ่ใหญ่พืชผลทางเกษตร ระหว่างวันที่ 28-29 พฤษภาคม 2568 โดยจะได้ข้อมูลที่ตกผลึกว่าตัวเลขผลไม้จะมีการเปลี่ยนปริมาณจำนวนเท่าใด  จากผลการปะชุมใหญ่ครั้งแรก โดยดคาดการณ์ว่าผลผลิตจะลดลง จากกระทบกับฝนที่ตกลงมามาก

“โดยเฉพาะทุเรียนที่กระทบฝนก็จะสามารถฟืนฟูเป็นทุเรียนทวายได้ โดยจะไปออกผลผลิตประมาณเดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2568 ได้”.

หมายเหตุ – ตัวเลขผลไม้เก่าประเมินครั้แรก คาดปีนี้ผลไม้ถูกลง ภาคใต้ภาคตะวันออกรวม 2,210,000 ตัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 30%  ผลไม้ภาคตะวันออก  1.29 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 30% ผลไม้ใต้ กว่า 9.2 แสนตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 30

ผลไม้ใต้

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 8 สุราษฎร์ธานี (สศท.8 ) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงข้อมูลผลพยากรณ์ไม้ผลภาคใต้  14 จังหวัดภาคใต้ ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง โดยคาดการณ์ปี 2568
มีปริมาณผลผลิตรวมทั้งในฤดูและนอกฤดู จำนวน 923,250 ตัน  ในฤดู 802,621 ตัน นอกฤดู 120,629 ตัน  เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีจำนวน 712,406 ตัน เพิ่มขึ้น 210,844 ตัน หรือร้อยละ 30

ทุเรียน มีจำนวน 703,537 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33
มังคุด มีจำนวน 147,430 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 24
เงาะ มีจำนวน 46,123 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15
ลองกอง มีจำนวน 26,160 ตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15

พื้นที่ทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ลองกอง เงาะ มังคุด ลดลงร้อยละ 7 ร้อยละ 5 และ ร้อยละ 1 ตามลำดับ
เนื้อที่ให้ผล ทุเรียน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8 ในขณะที่ลองกอง เงาะ และมังคุด ลดลงร้อยละ 7 ร้อยละ 5 และร้อยละ 1 ตามลำดับ

ผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ ทุเรียน 1,131 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 23 มังคุด 656 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เงาะ 773 เพิ่มขึ้นร้อยละ 21 และลองกอง 278 กิโลกรัม/ไร่ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24

ทุเรียน ออกดอกแล้ว ร้อยละ 65 ส่วนใหญ่อยู่ในระยะดอกบาน คาดว่าเกษตรกรจะเก็บผลผลิตได้ 2 ช่วง คือ เดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม และเดือนพฤษภาคมถึงเดือนธันวาคม 2568 โดยผลผลิตออกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2568 มังคุด ออกดอกแล้ว ร้อยละ 19 ส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะปากนกแก้ว
    
มังคุดภาคใต้จะมีผลผลิตตลอดทั้งปี โดยผลผลิตออกมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2568 เงาะ ออกดอกแล้ว ร้อยละ 16 ส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะตั้งช่อ เกษตรกรจะเก็บผลผลิตได้ 2 ช่วง คือ เดือนมกราคม และเดือนมิถุนายนถึงเดือนธันวาคม 2568 โดยผลผลิตออกมากที่สุดในเดือนสิงหาคม 2568
    
ลองกอง ออกดอกแล้ว ร้อยละ 1 ส่วนมากจะอยู่ในระยะดอกเขียว ลองกองภาคใต้จะมีผลผลิตในเดือนมิถุนายนถึงเดือนพฤศจิกายน 2568 โดยผลผลิตออกมากที่สุดในเดือนกันยายน 2568

ไม้ผลตะวันออก  1.29 ล้านตัน เพิ่มขึ้น30%
  
สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 6 ชลบุรี (สศท.6) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยถึงผลสรุปการจัดทำข้อมูลเอกภาพไม้ผลภาคตะวันออก ปี 2568 (ข้อมูล ณ 2 เมษายน 2568)  ติดตามสถานการณ์การออกดอกและติดผลของไม้ผล 4 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ และลองกอง ในพื้นที่ 3 จังหวัด (ระยอง จันทบุรี ตราด)

สรุป ปี 2568 ปริมาณผลผลิตรวม ทั้ง 4 ชนิด มีจำนวน 1,298,482 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีจำนวน 999,211 ตัน เพิ่มขึ้น 299,271 ตัน หรือร้อยละ 29.95

ทั้งนี้ ผลผลิตทั้ง 4 ชนิด ได้ทยอยออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาและจะออกต่อเนื่องจนถึงเดือนตุลาคม 2568 โดยผลผลิตจะออกมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 41 ของผลผลิตทั้งหมด

สถานการณ์การผลิตไม้ผลทั้ง 4 ชนิด

ทุเรียน
     
มีปริมาณผลผลิตรวม 871,692 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีจำนวน 666,329 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 31  เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนสิงหาคม 2568  โดยทุเรียนจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 42 ของผลผลิตทุเรียนทั้งหมด

มังคุด
มีปริมาณผลผลิตรวม 258,746 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีจำนวน 181,306 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 43  เริ่มทยอยเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนเมษายนถึงเดือนสิงหาคม 2568 มังคุดจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤษภาคมต่อเนื่องถึงเดือนมิถุนายน 2568 คิดเป็นร้อยละ 73 ของผลผลิตมังคุดทั้งหมด

เงาะ

มีปริมาณผลผลิตรวม 159,695 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีจำนวน 144,136 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11  เงาะเริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือนสิงหาคม 2568 โดยเงาะจะออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนพฤษภาคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 45 ของผลผลิตเงาะทั้งหมด

ลองกอง
  
มีปริมาณผลผลิตรวม 8,349 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2567 ที่มีจำนวน 7,440 ตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 12  เริ่มเก็บเกี่ยวตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงเดือนตุลาคม 2568 ผลผลิตออกสู่ตลาดมากที่สุดในเดือนกรกฎาคม 2568 คิดเป็นร้อยละ 31 ของผลผลิตลองกองทั้งหมด

บทวิเคราะห์

1. ผลผลิตออกมากอาจจะส่งผลให้ราคา ลดลง ดีต่อผู้บริโภคไม่ดีต่อผู้ผลิต และยิ่งเกิดกระแสข่าวประเทศสหรัฐอเมริกา จะเก็บภาษีนำเข้าจากประเทศไทย 37% สินค้าการเกษตรไทย ที่ส่งไปอเมริกาและน่าจะได้รับผลกระทบ คือมังคุด ดังนั้น ควรจะได้มีการเตรียมการ รับมือไว้แต่เนิ่นๆ โดยการ หาตลาดเพิ่มเติม ทั้งในประเทศและต่างประเทศ

2. ไม้ผลภาคตะวันออกวายไม้ผลใต้ เริ่มมา คนไทยได้กินผลไม้ตลอดปี ฤดูกาลของภาคตะวันออกจะเริ่ม ในเดือนพฤษภาคม ฤดูกาล ผลไม้ ของภาคใต้ จะชุกในเดือนกรกฎาคม สมัยก่อน มีช่วง แยกกัน ชัดเจน แต่สมัยนี้ เกษตรกร ใช้ความรู้ในการจัดการ ทำให้ ผลไม้ มีช่วงระยะเวลา การออก กระจาย มากขึ้น จึงทำให้เกิด มีการซ้อนทับ ของผลผลิต ส่งผลต่อ ราคา ชาวสวน แต่จะส่งผลดีต่อผู้บริโภค ที่มี ผลไม้กินตลอดปี

3. การคาดคะเนการให้ผลผลิต ของ ไม้ผลในกลุ่ม มะม่วง ทุเรียน มังคุด ลองกอง เราสามารถ สังเกต จาก สภาพอากาศ โดยปกติ ทั่วไป ไม้ผล หลายชนิด จะออกดอกมาก เมื่อ ได้เจอสภาพอากาศ แห้งแล้ง ที่ยาวนาน อย่างเพียงพอเพื่อการสะสมอาหาร หลังจากนั้น ได้รับน้ำ เพื่อกระตุ้นการออกดอก อย่างไรก็ตาม การ สะสมอาหารอย่างเพียงพอ ก่อนถึงฤดูแล้ง จะต้องมีการให้ปุ๋ย ให้น้ำอย่างเพียงพอ ก่อนที่จะถึง ช่วงฤดูแล้ง สังเกตจากใบ เขียวมัน เป็นเพลสลาด และหลังจาก ผลผลิตออก ออกผลอ่อน ก็ได้รับ น้ำอย่างสม่ำเสมอ ถ้าสถานการณ์เป็นแบบนี้ ก็จะคาดคะเนได้ว่า จะเป็นปีที่ผลผลิตออกมาก แต่ถ้า ปีไหน มีฝนตกกระจายตลอดปีจะทำให้ไม้ผล เปลี่ยน ตาดอกเป็นตาใบ มีการแตกใบ อยู่เรื่อยๆ การออกดอกและการให้ผลผลิต ก็จะน้อยกว่าปีอื่นๆ แต่สภาวะเช่นนี้ จะส่งผล ให้ไม้ผลบางชนิดไปออกดอกนอกฤดูกาลซึ่งทำให้ได้ราคาแพง นี่คือกลไกพื้นฐาน ของ ไม้ผล บางชนิด ที่เกษตรกรสามารถนำไปใช้ ประยุกต์ ในการ จัดการไม้ผลได้

โดย...ธัชธาวินท์ สะรุโณ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านการเกษตร องค์การบริหารส่วนจังหวัด