แจง 59 บาท เป็นแผนระยะสั้น การแก้ปัญหาระยะยาวต้องดูสัมปทาน

แจงค่ารถไฟฟ้า 59 บาท เป็นแผนระยะสั้น

แจง 59 บาท เป็นแผนระยะสั้น การแก้ปัญหาระยะยาวต้องดูสัมปทาน





ad1


วันที่ 28 มิ.ย. 65 ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร(ผู้ว่าฯกทม.) กล่าวถึงประเด็น ค่าบริการส่วนต่อขยายส่วนที่สองของรถไฟฟ้าสายสีเขียวที่ระบุไว้วานนี้ (27 มิถุนายน)ว่าราคาควรจะอยู่ที่ 59 บาทว่าประเด็นนี้อาจมีหลายคนเข้าใจคลาดเคลื่อนอยู่
.
สำหรับปัญหาคือรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวที่ให้บริการอยู่ขณะนี้ไม่ได้มีการเรียกเก็บค่าบริการใดๆ ยังเปิดให้วิ่งฟรีอยู่ จากข้อมูลของทีมผู้บริหาร สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ)มีข้อเสนอมาว่าควรจัดเก็บค่าบริการขั้นสูงสุด ไม่เกิน 59 บาท ฉะนั้นในราคาเท่านี้ที่ให้ข้อมูลไปไม่ใช่แผนแก้ปัญหาระยะยาว แต่เป็นแผนระยะสั้น
.
ชัชชาติกล่าวต่อว่า สำหรับตัวเลข 59 บาทที่รับการเสนอมา ทางกทม.ได้มอบหมายให้สำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานครพิจารณาข้อมูลอยู่คาดว่าจะใช้สูตรการคำนวน (14+2x) โดย x คือจำนวนสถานีที่นั่ง โดยจะไม่ให้เกินค่าบริการสูงสุดเดิมที่ระบุไว้ เพื่อไม่ให้ประชาชนได้รับผลกระทบ
.
ชัชชาติกล่าวย้ำว่า ตัวเลข 59 บาทเป็นการแก้ปัญหาระยะสั้นของส่วนต่อขยาย ที่ผ่านมากทม.ต้องจ่ายค่าเดินรถคิดเป็นเงินหลายพันล้านบาทต่อปี ถ้าเป็นระยะยาวจะต้องนำเรื่องสัมปทานมาพิจารณาด้วยเพราะสัญญาจะหมดปี 2572 
.
จากข้อมูลพบว่าในส่วนต่อขยายมีผู้ใช้บริการมากถึงร้อยละ 27 ถือว่าเป็นจำนวนที่มาก ซึ่งคนเหล่านี้นั่งฟรี แต่คนอื่นต้องมาช่วยจ่าย เพราะต้องยอมรับว่ากทม.ต้องนำภาษีของทุกคนมาช่วยจ่ายจนกลายเป็นว่าคนที่ไม่ได้นั่งก็ต้องจ่าย ปัญหาอีกส่วนหนึ่งคือคนที่ให้บริการรถสาธารณะใต้แนววิ่งรถไฟฟ้า ต่างได้รับผลกระทบเพราะรถไฟฟ้านั่งฟรี คนให้บริการด้านล่างทำมาหากินไม่ได้ เรื่องนี้ไม่ยุติธรรมกับผู้ประกอบการ
.
ชัชชาติกล่าวว่าราคาที่ตั้งไว้เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นในเรื่องส่วนต่อขยายนี้เป็นคนละเรื่องกับค่าบริการที่หาเสียงไว้ก่อนเลือกตั้ง สำหรับนโยบายที่เคยหาเสียงไว้ว่าค่าบริการรถไฟฟ้าควรจะอยุ่ที่ 25 -30 บาทนั้นไม่ได้หมายรวามว่านั่งจากสถานีต้นทางถึงปลายทางเป็นราคานี้ แต่คิดจากราคาค่าโดยสารเฉลี่ยที่คนใช้บริการ ซึ่งเดิมคิดค่าเฉลี่ย 8 สถานี แต่ล่าสุดทางสำนักการจราจรและขนส่งกรุงเทพมหานครคำนวณไว้เฉลี่ยอยูที่ 11 สถานี