3 บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติแห่ตั้งโรงงานแปรรูปหมากภาคใต้

3 บริษัทยักษ์ใหญ่ต่างชาติแห่ตั้งโรงงานแปรรูปหมากภาคใต้





ad1

พัทลุง-สำนักงานสหกรณ์การเกษตรตะโหมด เทศบาลตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด สัมมนา “หมาก” ระบุ เข้ามาตั้งโรงงานแล้ว ที่ จ.พัทลุง และ จ.สงขลา ส่วนอินเดียก็มีแนวโน้ม กมธ.เกษตรชี้ทางเลือกใหม่ และยังมีอีกหลายตัวที่จะสนับสนับสุนส่งเสริม

เวลา 09.30 น. วันที่ 17 พค. 65 ที่สำนักงานสหกรณ์การเกษตรตะโหมด เทศบาลตำบลแม่ขรี อ.ตะโหมด จ.พัทลุง มีการจัดโครงการสัมมนาแนวทางส่งเสริมการปลูกหมากในพื้นที่ จ.พัทลุง ของคณะกรรมาธิการการเกษตรสหกรณ์ สภาผู้แทนราษฎร  มีนายนริศ ขำนุรักษ์ ประธานที่ปรึกษาคณะกรรมาธิการการเกษตร เป็นประธานเปิดงงาน  โดยมีวิทยากรผู้เข้าร่วม สำนักงานเกษตรจังหวัด อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน  เกษตรกรผู้ปลูกหมาก   ดร.สมบัติ ชนะสิทธิ์  ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  

สำหรับการอบรม  คือเรื่องแนวโน้มตลาดหมากในต่างประเทศ การส่งเสริมปลูกหมากตามแนวทางเกษตรทางเลือก  แนวทางการปลูกหมากอย่างมีประสิทธิภาพ  บทบาทอาสาสมัตรเกษตรหมู่บ้าน  การผลิตอาหารปลอดภัย  และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

นายนริศ ขำนุรักษ์ ประธานที่ปรึกษากรรมาธิการเกษตร สภาผู้แทนราษฎร (กมธ.)  กล่าวว่า พืชการเกษตรดีทุกตัวตั้งแต่ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน ฯลฯ  โดยตอนนี้รัฐบาลไม่ต้องใช้เงินชดเชยราคา  สำหรับในการปลูกหมากนั้น จึงเป็นแนวทางทางเลืออกอีกทางหนึ่งที่สำคัญ  นอกจากหมากแล้ว ยังมีพืชที่สนใจอีกหลายตัวที่จะทำการส่งเสริม เพราะเป็นที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก คือพืชกาแฟ เนื่องจากราคามาตลอดและยังมีตัวที่จะส่งเสริมอีกคือการปลูกพืชสาคู 

ทาง  ดร.สมบัติ  กล่าวว่า สำหรับในการส่งเสริมการปลูกหมาก ทั้งนี้เพื่อการรองรับตลาดที่จะรับซื้อหมากเพื่อส่งออกต่างประเทศนอกภายในประเทศแล้ว  ที่จากการหารือเจรจาได้กับนักลงทุนจากประเทศจีน 2 กลุ่ม ที่มาเปิดโรงงานแปรรูปหมากที่ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง และที่ อ.บางกล่ำ จ.สงขลา และนักลงทุนจากประเทศอินเดียอีก 1 กลุ่ม รวม 3 กลุ่ม

โดยกลุ่มจีนจะส่งออกหมากไปยังประเทศจีน ซึ่งจะเป็นหมากอ่อนที่จะนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สแน็ก ฯลฯ ส่วนหมากสุกจะเป็นของกลุ่มนักลทุนอินเดีย โดยจะรับหมากไปยังประเทศอินเดียส่งโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย่อม อุตสาหกรรมเวชภัณฑ์ผลิตยา  และการบริโภค  

ดร.สมบัติ กล่วอีกว่า สำหรับกลุ่มนักลงทุนจีน จะเริ่มรับซื้อ โดยจะแปรรูประยะแรกประมาณ 250 ตัน / วัน ปลายเดือนพฤษภาคม 2565  โดยกำลังการผลิตมีประมาณ 50 ตัน / วัน แต่เริ่มสตาร์ทเพือหาข้อสรุป มีปัญหาว่าจะเกิดอุปสรรใด เช่น กำลังการผลิต ผลิตที่รับซื้อส่งเข้าโรงงาน ฯลฯ ส่วนทางอินเดีย จะรับซื้อหมากสุกระยะแรก ประมาณ 40 ตู้ / เดือนในระยะแรก โดยจะมีรายละเอียดก่อนทำสัญญาในเดือนมิถุนายน 2565 นี้ 

สำหรับหมากอ่อนมีการประกันราคาขั้นต่ำ 15-20 บาท / กก. ส่วนหมากสุกยังมีการหารือในประเด็นนี้

และมีการรับซื้อหมากแยกเป็น 3 เกรด เกรดเอ ตั้งแต่ 10 ตันขึ้นไป เกรดบีตั้งแต่ 1-10 ตัน และเกรดซี. ขนาดไม่ไม่ถึง 1 ตัน  โดยมีผู้ประกอบการรับซื้อขายหมากทั้ง 3 ขนาดประมาณ 50 รายจากทั่วประเทศ  ที่ได้เจราหารือกันแล้วพร้อมที่จะส่งหมากป้อนเข้าสู่โรงงาน 

ดร.สมบัติ ยังกล่าวอีก ยังมีการตกกันว่า ในส่วนของโรงงานแปรรูปหมาก จะอยู่ภายในโรงงานห้ามมิให้ตั้งล้งเข้ามาทำตลาดรับซื้อหมากแข่งขันกับพ่อค้า เกาตรกรแต่อย่างใด จะแตกต่างกับล้งรับซื้อทุเรียน มังคุด ฯลฯ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย

“ส่วนแนวทางการส่งเสริมการปลูกหมาก นั้นจะมีการแจกสายพันธุ์หมากให้กับเกษตรกรโดยไม่คิดราคา  ขณะนี้อยู่ระหว่างหารือในการเพาะพันธุ์หมาก”   

ดร.สมบัติ กล่าวว่า ทั้งนักลงทุนจากประเทศอินเดีย และจากประเทศจีน นั้นมีแนวคิดที่จะตั้งโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปหมากในประเทศไทย เพื่อส่งออกไปยังประเทศอินเดีย และจีน  

โดยจีนนั้นหากเปิดเดินเครื่องทดสอบในระยะแรกประสบความสำเร็จไม่มีปัญหาใดทางด้านวัตถุดิบผลผลิตการตลาด ฯลฯ  จะมีการขยายโรงงานตามลำดับจะมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท โดยมีเป้าหมายผลิตแปรรูปถึง 500 ตัน / วัน สำหรับโรงนี้เป็นของกลุ่มโรงงานแปรรูปหมาก อ.บางกล่ำ จ.สงขลา เนื่องจากลงทุนจีน ได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนจากรัฐบาลจีนประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์

ส่วนนักลงทุนอินเดียก็มีแนวทางที่จะตั้งโรงงานด้วย โดยได้เล็งพื้นที่ จงพัทลุง เป็นแห่งแรก.