วิทยาลัยชุมชนน่าน จัด "ข่วงความรู้และเสวนางานหัตถศิลป์พื้นถิ่นเครื่องเงินน่าน"

วิทยาลัยชุมชนน่าน  จัด "ข่วงความรู้และเสวนางานหัตถศิลป์พื้นถิ่นเครื่องเงินน่าน"





ad1

วิทยาลัยชุมชนน่าน  จัด "ข่วงความรู้และเสวนางานหัตถศิลป์พื้นถิ่นเครื่องเงินน่าน" ถอดองค์ความรู้งานวิจัย พัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม

นายวิบูรณ์  แววบัณฑิต  ผู้ว่าราชการจังหวัดน่าน เป็นประธานเปิดกิจกรรมข่วงความรู้และเสวนางานหัตถศิลป์พื้นถิ่นเครื่องเงินน่าน โครงการการพัฒนาหลักสูตรมรดกวัฒนธรรมงานหัตถศิลป์เครื่องเงินพื้นถิ่นน่าน เพื่อขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO  ซึ่งจัดโดยวิทยาลัยชุมชนน่าน โดยมี นายแพทย์ชาตรี เจริญศิริ ผู้อำนวยการวิทยาลัยชุมชนน่าน ในฐานะสถาบันการศึกษา พร้อมด้วย นางศุภรดา กานดิศยากุล  รองผู้จัดการสำนักงานพื้นที่พิเศษ 6  เป็นหน่วยงานที่ให้ทุนสนับสนุนการวิจัย  และ บริษัทดอยซิลเวอร์แฟคทอรี่ จำกัด

ซึ่งเป็นภาคเอกชนที่มีส่วนสำคัญในงานศึกษาวิจัยเชิงวิชาการและนำมาออกแบบพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม เรื่อง ภูมิปัญญาการผลิตเครื่องเงินพื้นถิ่นจังหวัดน่าน  โดยร่วมกันจัดขึ้น ซึ่งมีทั้งการจัดนิทรรศการเครื่องเงินเมืองน่าน และ การเสวนาจากผู้ทรงคุณวุฒิและปราชญ์งานหัตถศิลป์เครื่องเงินท้องถิ่นเมืองน่าน  โดยมีภาคีเครือข่าย  หน่วยงานภาครัฐและเอกชน  เยาวชนและประชาชนให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรม  ณ  หออัตลักษณ์นครน่าน  เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 โดยยังคงใช้มาตรการทางสาธารณสุขเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด19

นายสมชาย รุ่งชตะวานิช กรรมการกรรมการผู้จัดการบริษัทดอยซิลเวอร์แฟคทอรี่ จำกัด และ หัวหน้าโครงการการพัฒนาหลักสูตรมรดกวัฒนธรรมงานหัตถศิลป์เครื่องเงินพื้นถิ่นน่าน เพื่อขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO  กล่าวว่า   สำนักงานพื้นที่พิเศษ 6 อพท. ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้กับ วิทยาลัยชุมชนน่าน ร่วมกับ บริษัท ดอยซิลเวอร์ แฟคตอรี่ จำกัด และวิทยาลัยกาญจนาภิเษกช่างทองหลวง ดำเนินการรวบรวมข้อมูล และจัดทำโครงการวิจัยเชิงวิชาการ มาออกแบบพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นแบบมีส่วนร่วม เรื่อง ภูมิปัญญาการผลิตเครื่องเงินพื้นถิ่นจังหวัดน่าน

ซึ่งผลลัพท์จากการดำเนินงานได้หลักสูตรมรดกวัฒนธรรมงานหัตถศิลป์เครื่องเงินพื้นถิ่นน่าน จำนวน 1 หลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตร 150 ชั่วโมง หลักสูตร 200 ชั่วโมง และหลักสูตร 250 ชั่วโมง ซึ่งเป็นการพัฒนาหลักสูตรแก่ผู้เรียนอาชีวะศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาเครื่องประดับอัญมณี  เพื่ออนุรักษ์องค์ความรู้ภูมิปัญญาดั้งเดิม และต่อยอดสู่ความร่วมสมัย กลายเป็นอาชีพที่มีคุณค่าและความภาคภูมิใจ และสร้างรายได้มั่นคง  นอกจากนี้ยังเกิดพื้นที่เรียนรู้และเผยแพร่ ผลงานวิจัยเพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนเมืองน่านสู่การเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ของ UNESCO