ถกสันติภาพใต้สะดุดหลังมาเลเซียประกาศยุบสภาพ คาดหวนกลับมาเจรจา BRN ในเวทีพูดคุยในอนาคต

ถกสันติภาพใต้สะดุดหลังมาเลเซียประกาศยุบสภาพ คาดหวนกลับมาเจรจา BRN ในเวทีพูดคุยในอนาคต





ad1

จากกำหนดการพูดคุยระหว่างคณะพูดคุยเพื่อสันติสุข จังหวัดชายแดนภาคใต้ ของไทยกับตัวแทนกลุ่ม บีอาร์เอ็น จำเป็นต้องเลื่อนไปหลังจากเสร็จสิ้นการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 15 ของมาเลเซีย ตรงกับวันที่ 19 พ.ย 65 นี้ แม้กำหนดการเดิมที่จะให้มีการพบกันคณะเล็ก (technical team) ช่วงเดือนกันยายนและต้นเดือนตุลาคมจำเป็นต้องเลือนเช่นกัน เนื่องจากนายกรัฐมนตรีมาเลเซียประกาศยุบสภาในวันที่ 10 ตุลาคมที่ผ่านมา ตอนนี้การพบกันของคณะเล็กมีขึ้นเพียงครั้งเดียวเท่านั้น  

ล่าสุด เมื่อ 29 ตุลาคม 65   พล.อ.วัลลภ  รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข พร้อมด้วยกองเลขานุการคณะพูดคุยลงพื้นที่โรงแรมซีเอสปัตตานีเพื่อแปลงนโยบายสู่การปฏิบัติในระดับพื้นที่ โดยมีพลตรีปราโมทย์ พรมอิงทร์ รองแม่ทัพภาค 4 ตัวแทนของ กอ.รมน.ภาค 4   โดยการหารือในครั้งนี้กับกองเลขานุการคณะประสานงานระดับพื้นที่  ใน 3 ประเด็นสารัถถะ คือ การลดความรุนแรง หรือ การหยุดยิง ทำอย่างไรให้มีจุดร่วมกันได้ทั้งสองฝ่าย monitoring teams ต้องครอบคลุมทุกๆฝ่ายPublic consultation จะออกแบบยังไงให้ได้ทีมงานคุณภาพ ครอบคลุมทุกมิติผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และ join working groups และ การแสวงหาทางออกทางการเมือง

 การพบปะครั้งนี้ ในที่ประชุมมีข้อคิดเห็น ว่า หลังจากพูดคุยและมีมติประการใดแล้ว ควรมีการลงนามในเอกสารด้วยทุกครั้ง เนื่องจากเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวมีความสำคัญต่อฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการนำไปปฏิบัติสิ่งที่เป็นรูปธรรม โดยเฉพาะเป็นการแสดงถึงความตั้งใจและความจริงใจต่อกัน ซึ่งสามารถพัฒนาไปสู่ทางออกที่ดีต่อประชาชนในพื้นที่ต่อไป

สำหรับ ในประเด็นของสามสารัตถะในกระบวนการพูดคุยฯ ขอเสนอโดยย่อนั้นประกอบด้วย การลด/ยุติความรุนแรง ควรปลดป้ายผู้ต้องหาทุกจุด ที่บริเวณด่านตรวจ และบริเวณที่ทำการของรัฐ ไม่ควรปิดล้อม หรือตรวจค้นในพื้นที่ชุมชน  เว้นแต่ฐานที่มั่นของฝ่ายตรงข้าม ห้ามเจ้าหน้าที่ตรวจDNAในเด็กโดยเด็ดขาด (เป็นการละเมิดสิทธิเด็ก) การตรวจDNAของผู้ต้องสงสัยและญาติผู้ต้องสงสัย ต้องมีผู้นำชุมชนร่วมอยู่ด้วยทุกครั้ง

"การเมืองนำ การทหารตาม ทุกปัญหาต้องดำเนินการคู่ขนานกันไป" เพื่อเกิดผลและความก้าวหน้าของแนวทาง พลเอก วัลลภ  รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ ร่วมหารือและรับฟังข้อเสนอแนะ เพื่อนำเข้าสู่วาระการพูดคุยเพื่อสันติสุขครั้งต่อไป

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2565 ที่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา พลเอก วัลลภ  รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ นำคณะพูดคุยเพื่อสันติสุขฯ พบปะหารือให้คำแนะนำและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกับ พลโท ศานติ  ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 / ผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ตลอดจนแนะนำคณะทำงานของกันและกันในฐานะองค์กรหลักในการปฏิบัติภารกิจในพื้นที่ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนกลไกพัฒนาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ประสานความร่วมมือกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า ในเรื่องของการทำงานการพูดคุยเพื่อสันติสุขให้เกิดความต่อเนื่อง และการพูดคุยในครั้งต่อไปน่าจะเกิดขึ้นภายหลังจากการเลือกตั้งของมาเลเซียไปแล้ว ทั้งนี้ คณะพูดคุยเพื่อสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้จะมีแผนในการพุดคุยครั้งต่อไปให้เร็วที่สุด จากการประชุมครั้งที่ 5 ได้มีการเสนอในเรื่องของการลดความรุนแรงซึ่งจะนำมาหารือต่อไป และหลังจากมีการเปิดเวทีพูดคุยอีกครั้งจะลงพื้นที่เพื่อชี้แจงแถลงความคืบหน้าให้ทุกฝ่ายได้รับรู้

กลุ่มไทยพุทธ ใน คณะ สล.3 ถก ผู้แทน BRN ที่อยู่มาเลเซีย ตามที่ได้มีการเรียกร้องมาก่อนหนเนี้ เพื่อสร้างความมั่นใจ ในความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของชาวพุทธในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

นายพงศักดิ์ พรหมสังข์ ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธ นางธิดา วรรณลักษณ์ ประธานชมรมพุทธรักษานราธิวาส และนางลม้าย มานะการ เลขานุการสมาคมลุ่มน้ำสายบุรี ได้เดินทางเพื่อพบปะหารือกับกลุ่มผู้เห็นต่างจากรัฐ ณ ประเทศมาเลเซียระหว่างวันที่ 25 – 28 ก.ย. 2565 ณ รัฐกลันตัน ตรังกานู และกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ได้มีการ พูดคุยกับนายอาบูอาฟิส  อัลฮากีม  หรือหมอดิง จาก BIPP ในฐานะโฆษกกลุ่มมาราปาตานี ที่เมืองโกตาบรู รัฐกลันตัน คุยกับ กับนายกัตตูรี มะโกตา ประธานกลุ่มพูโล P4 ในเมืองโกตาบรู รัฐกลันตัน คุยกับกับทีมอุสตาซอารง  พบกันที่ตรังกานู คุยกับ ดร.นิมะ สือรี นักวิชาการและผู้แทนในคณะพูดคุยฯของ BRN พบกันที่รัฐสลางอ

พล.อ.วัลลภ  รักเสนาะ หัวหน้าคณะพูดคุยสันติสุข กล่าวว่า เราเดินทางมานี้ก็เรียกว่าต้นปีงบประมาณ ก็มีการปรับปรุง      เปลี่ยนแปลงในหลายตำแหน่งหน้าที่ ในพื้นที่หรือว่ามวลชนต่างๆ ก็มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เราก็มาประสานงานกับทางกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ในเรื่องการทำงานของการพูดคุย ขณะเดียวกันก็ลงมารับฟังความเห็นของกลุ่มมวลชนต่างๆทั้งกลุ่มของ สล.3 ทั้งกลุ่มของจังหวัดยะลา ปัตตานี แล้วก็มาประสานงานกับ ทางฝ่ายเลขาของสล.3 ในภาพรวม 

สำหรับการพูดคุยเราเราพูดคุยไปลแล้ว ครั้งที่ 5 เดิมที่เดียวเรามีแผนที่จะพูดคุยในระดับ เทคนิคสองครั้ง แล้วก็พูดคุยเต็มคณะในเดือนตุลาคม แต่ปัจจุบันเราก็มีการพูดคุยทางเทคนิค เพียงครั้งเดียว แล้วก็มีเหตุการณ์คือ ทางฝั่งมาเลเซีย ก็มีการยุบสภา และจะมีการเลือกตั้งใหม่ ททางโน้นก็แจ้งว่า การพูดคุยครั้งต่อไปก็น่าจะเป็น ภายหลังของการเลือกตั้งไปแล้ว

เราก็คิดว่าเราจะพูดคุยให้เร็วที่สุดก็เป็นการพูดคุยต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่5 ที่เราได้เสนอในเรื่องของการลดความรุ่นแรงไป ว่าคงจะนำมาหารือกันอีกครั้งหนึ่ง และอาจจะมีข้อหารืออื่นๆ เพิ่มเติม เช่นในเรื่องของ การปรึกษาหารือในพื้นที่ ต่างๆเป็นต้น  

นายพงศักดิ์ พรหมสังข์ ประธานสมาพันธ์ไทยพุทธ จชต.สมาชิก สล.3 จังหวัดสขลา กล่าวว่า เรารู้สึกว่า เราคือคนพุทธในพื้นที่ ทีได้รับผลกระทบ  จากสถานการณ์ตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา เพราะเราคือส่วนหนึ่งของคนในพื้นที่ และในวันนี้ 10 กว่าปี ที่ผ่านมาเรา ไม่เคยได้สื่อสารกับ ผู้เห็นต่างที่อยู่ในพื้นที่มาเลเซียเลย ณ วันนี้เรา คิดว่าสมควร หรือถึงเวลาแล้วที่ คนพุทธจะต้องเป็นคนหนึ่งในการพูดคุยในมาเลเซีย

สิ่งที่เราเรียกร้องและบอกเขา ข้อแรก ทางขบวนการผู้เห็นต่างจะต้องหยุดทำร้ายผู้บริสุทธิ์ ไม่ใช่เฉพาะพี่น้องไทยพุทธ แต่ทุกศาสนิก ที่เป็นผู้บริสุทธิ์ ต้องหยุดโดยทันที จากนั้นเรายังมีการพูดคุยถึงแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างศาสนิกกับกลุ่มผู้เห็นต่าง โดยจะเป็นแกนนำของพี่น้องพุทธเป็นหลักในการทำงานร่วมกัน เพราะเรามองว่าการที่ ขบวนการพูดคุยกับรัฐไทยอย่างเดียวมันไม่เพียงพอคิดว่าพี่น้องในพื้นที่อื่นๆจำเป็นจะต้องมีส่วนร่วมด้วย 

สิ่งแรกเรามองว่า ที่ผ่านมากระบวนการ การพูดคุยมีระหว่างรัฐ กับ ผู้เห็นต่างเท่านั้น แต่คนกลุ่มน้อยคนพุทธในพื้นที่ ที่เป็นคนกลุ่มน้อยในพื้นที่ไม่ได้มีส่วนร่วมในตรงนั้น ณ วันนี้ เรื่องแรกเราบอกรัฐว่า เรา ไปคุยกับขบวนการแล้วนะ เพื่อต้องการมีส่วนร่วม เพราะเราคือผู้ได้รับผลกระทบ คนหนึ่งที่อยู่ในพื้นที่ สิ่งต่างๆหลังจากนั้น จะมีการนำข้อมูล ความเห็นที่เราคุยกับกลุ่มขบวนการณ์ มานำเสนอต่อรัฐในลำดับต่อไป
 
นางธิดา วรรณลักษณ์ ประธานชมรมพุทธรักษานราธิวาส กล่าวว่า เรารู้สึกว่าเราถูกทำร้ายมาตลอดตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา ทำให้เราต้องไป เราไม่เคยมีการสื่อสารกับกลุ่มขบวนการณ์เลย เพราะไม่มีวิธีไหนดีที่สุดเท่ากับการพูดคุย บางครั้งคนเราทะเลาะกันแต่เราไม่เคยได้คุยกันเลย ที่นี้การคุยผ่านคนอื่น ผ่านการเล่าต่อผ่านการบอกต่อมันไม่เหมือนกับเราไปเอง พอเราไปเองมันได้พูดคุย

สิ่งที่นำเสนอสิ่งแรกเลย คือความปลอดภัยในชีวิติประจำวันของผู้บริสุทธิ์ ไม่ว่ามุสลิมและคนพุทธ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนพุทธก็จะเป็นครูกับพระ ที่จะถูกทำร้ายอยู่ตลอดเวลา เราจึงได้นำเสนอตรงนี้ไป สมมุตต่อไปการพูดคุยจบลง สามารถเลือกตั้งปกคครองพิเศษได้ แต่ถ้าไม่มีคนพุทธอยู่ตรงนี้ มีแต่คนตานีอย่างเดียว มันก็ไม่เกิดความสมบูรณ์แบบของพื้นที่ ต้องอาศัยคนหลายๆกลุ่มเข้ามา แล้วก็ หลายๆศาสนาหลายมิติความเชื่อถือ เพื่อที่จะอยู่ร่วมกัน จึงได้นำเสนอเรื่องของการยุติความรุนแรงเขาตอบรับเชิงบวก เพราะท่าทีของเราเป็นมิตรด้วย เราไปอย่างเป็นมิตร เราไม่ได้พาความเป็นรัฐเข้าไป

 แต่เราพาความเป็นคนพุทธที่ ซื้อๆและได้รับผลกระทบเข้าไป เราก็จะเห็นเรามาในสภาพของคนที่เป็นเป่าหมายอ่อนแอ แต่กำลังมาหาพวกเขาอยู่ เพื่อที่จะมาถามว่ามันเกิดอะไรขึ้น แล้วเขาจะให้เราทำยังไง เราควรจะทำยังไงต่อไปต่อการพูดคุย สมมุตว่าอะไรก็ตามที่เขาไม่เข้าใจภาครัฐ เราในฐานนะคนของภาครัฐ เราพร้อมจะชีแจง ว่าสิ่งที่เขาเข้าใจมันเป็น เรื่องที่เข้าใจผิด หรือเข้าใจถูกต้อง เพราะถ้าเกิดความเข้าใจที่ถูกต้องมันเกิด ขึ้นมาตรงนั้น การพูดคุย เราเป็นโต๊ะเล็ก แต่ถ้าเราสามารถทำให้กระบวนการพูดคุยตรงนี้ ชัดเจนขึ้น มันมีความจริงใจมากขึ้น พอขึ้นไปอยู่โต๊ะใหญ่ เขาก็รู้สึกว่าสิ่งที่เขารับคุยกับพวกเราแล้วมันก็เป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการตัดสินใจ และไปหนุนเสริมความรู้สึกที่ดีของเขา มันน่าจะเป็นผลบวกต่อการดำเนินการต่อไป

ตัวแทนแกนนำชาวพุทธชายแดนใต้เข้าพบนายกัสตูรี แกนนำพูโล PULO

ขณะเดียวกันนายกัสตูรี มะห์โกตา ประธานองค์การปลดปล่อยสหปาตานี (PULO-MKP) กล่าวกับทีมข่าวในพื้นที่ว่า  เราได้เจอกับตัวแทนคนพุทธ เราคุยกันเพราะเราคือคนปาตานี ต้องช่วยกันในการแก้ไขปัญหา ทางคณะได้ มีข้อเสนอ การแบ่งอำนาจในการอยู่ร่วมกัน มีความรุนแรงน้อยลงระหว่างทั้งสองฝ่ายโดยใช้แบบจำลองเดือนรอมฎอน และ แนวโน้นอาจต้องมาทำงาน หรือขับเคลือนร่วมกัน และ ถ้ามีโอกาสเราจะพบกันอีก และ หลายครั้งอีก  ผมอยากเห็น ตัวเเทน องค์กรพุทธ มาอยูบนโต๊ะเจรจาด้วย

แหล่งข่าวในพื้นที่จากอดีตแกนนำขบวนการปลดปล่อยปาตานี ได้เปิดเผยว่า เมื่อต้นเดือนตุลาคมที่ผ่านมา กลุ่ม”มารา ปาตานี”ได้เรียกสมาชิกเข้าประชุมใหญ่ในรอบตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นมา โดยมีตัวแทนจากสมาชิกของกลุ่มขบวนการปลดปล่อยปาตานีเดินทางเข้ามาประชุมคลอบคลุมทุกกลุ่ม ทั้งนี้เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ในการยกระดับแนวทางการพูดคุยและการเดินหน้าของการต่อสู้ของบรรดานักต่อสู้ของการปล่อยปล่อยปาตานี ซึ่งคาดว่าอนาคตกลุ่มมาราปาตานี อาจเป็น”คณะพูดคุยเพื่อสันติภาพปาตานี”และอาจมีการเปลี่ยนแปลงบุคคลคณะผู้ทำหน้าที่อำนวยความสะดวกของการ”พูดคุยระหว่างรัฐไทยกับฝายตัวแทนปาตานีจากประเทศมาเลเซีย”