ศอ.บต. ผนึกกำลังกรมสุขภาพจิต และกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเตรียมจัดตั้ง “โรงพยาบาลจิตเวช”

ศอ.บต. ผนึกกำลังกรมสุขภาพจิต และกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเตรียมจัดตั้ง “โรงพยาบาลจิตเวช”





ad1

ยะลา-ศอ.บต. ผนึกกำลังกรมสุขภาพจิต และกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขเตรียมจัดตั้ง “โรงพยาบาลจิตเวช” ในพื้นที่ จชต. เพื่อรักษาและฟื้นฟูผู้มีปัญหาสภาวะทางจิตในพื้นที่

วันนี้ (13 มิถุนายน 2566) เวลา 09.30 น. ที่ห้องประชุมปัญจเพชร ชั้น 3 อาคาร ศอ.บต. อำเภอเมือง จังหวัดยะลา นายสมพร เนติรัฐกร ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. (กระทรวงสาธารณสุข) เป็นประธานการประชุมหารือแนวทางขับเคลื่อนการจัดตั้งโรงพยาบาลจิตเวชในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อรองรับสถานการณ์การรักษาและฟื้นฟูผู้มีปัญหาสภาวะทางจิต โดยมีผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ศอ.บต. เจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุม

นายสมพร เนติรัฐกร ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า สำหรับข้อมูลผู้ป่วยจิตเวชในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัจจุบันยังคมมีผู้ป่วยจำนวน 142,746 คน  โดยปรากฏโรคทางจิตเวชที่สำคัญที่เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลสุขภาพจิต ได้แก่ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวล โรค PTSD หรือ ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง โรคจิตเภท และโรคทางจิตที่เกิดจากการใช้ยาเสพติด เป็นต้น และได้ส่งผลต่อตัวผู้ป่วยที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย การทำร้ายร่างกายคนใกล้ชิดให้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต รวมทั้งปัญหาที่เกิดต่อครอบครัวของผู้ป่วยได้รับผลกระทบในเรื่องค่าใช้จ่ายที่ต้องดำเนินการระหว่างการส่งต่อและรักษาตัว เนื้องจากจังหวัดยะลา เป็นจังหวัดที่อยู่ห่างไกลกว่าพื้นที่อื่นๆ กว่าจะเดินทางไปรักษาที่โรงพยาบาลจิตเวชสงขลา ต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงในการเดินทางในแต่ละครั้ง จึงเห็นสมควรในการจัดตั้งโรงพยาบาลจิตเวชในพื้นที่

ด้าน บุคลากรทางการแพทย์ ต่างกล่าวถึงการปฏิบัติงานในครั้งนี้ว่า ส่วนใหญ่ 93 เปอร์เซ็นมาจากผู้ป่วยที่มีสารเสพติด และที่เหลือเป็นโรคซึมเศร้า จากผลการดำเนินงานดังกล่าวในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา โรงพบาบาลสามารถป้องกันและลดอันตรายจากการทำร้ายตนเองรวมถึงการฆ่าตัวตายเป็น 0 ถือเป็นผลลับที่ดีที่มีโรงพยาบาลจิตเวชประจำอำเภอ และเป็นอีกหนึ่งหน่วยบริการที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สามารถเข้าถึงบริการได้ง่าย รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดให้กับประชาชนในพื้นที่ แต่ยังคงมีอุปสรรคในการทำงาน อาทิ ผู้ป่วยมีการก่อกวนเจ้าหน้าที่พยาบาล คนไข้ปกติ รวมถึงญาติคนไข้ เกิดความหวาดกลัว เพราะส่วนใหญ่เจ้าหน้าที่พยาบาลเป็นผู้หญิง และเมื่อคนไข้มีการอาละวาดไม่สามารถต้านแรงคนไข้ได้ จึงต้องขอความอนุเคราะห์จากเจ้าหน้าที่ อส. มาเฝ้าคนไข้ในโรงพยาบาลด้วย

ปัจจุบัน ผู้ป่วยเกือบทั้งหมดที่มีอาการหนัก จะถูกส่งตัวไปรักษาอาการทางจิตเวช ณ โรงพยาบาลจิตเวชสงขลา นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญต่อการวางแผนป้องกันการเกิดสภาวะทางจิตจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้และสถานการณ์แวดล้อมในทุกมิติ โดยจากข้อมูลที่พบปัจจัยที่มีผลต่อปัญหาสุขภาพจิตของผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ เพศ เขตพื้นที่ และการเป็นญาติของผู้บาดเจ็บอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ได้แก่ การเสียชีวิตของญาติ ทั้งนี้ เพื่อให้เกิดหน่วยบริการที่ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าถึงบริการได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเกิดประโยชน์สูงสุดให้ประชาชนในพื้นที่ต่อไป เป็นการช่วยเหลือประชาชนลดค่าใช้จ่ายในช่วงการส่งต่อและรักษาตัว และให้เป็นหน่วยบริการที่สำคัญในการร่วมการแก้ปัญหาด้านสุขภาพให้คนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เกิดจากหลากหลายปัญหาที่มีความซับซ้อนจนไปสู่การเป็นโรคทางจิตเวช