เครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ฯศรีสะเกษแนะเกษตรกรไทยหลุดพ้นหนี้สิน-สลัดความยากจนต้องเลิกใช้สารเคมี

เครือข่ายเกษตรกรอินทรีย์ฯศรีสะเกษแนะเกษตรกรไทยหลุดพ้นหนี้สิน-สลัดความยากจนต้องเลิกใช้สารเคมี





ad1

ศรีสะเกษ - เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกร่วมกับสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ จัดเวทีแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงาน แนะเกษตรกรไทยหากต้องการหนีพ้นหนี้สิน สลัดออกจากความยากจนต้องหันมาทำเกษตรกรอินทรีย์ไม่พึ่งสารเคมี

นายทำนอง ห่อไทสงค์ ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลก พร้อมด้วยนายเกษมศานต์ ศรีโพนทอง ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ได้ร่วมกันจัดเวทีแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงานที่บ้านพะเนาว์ ตำบลปราสาท อำเภออุทุมพรพิสัย  โดยมี นายสุพล ดวนสูง ผู้ทรงคุณวุฒิในสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ ร่วมแบ่งปันประสบการณ์ในการทำงาน โดยมีนางสาวพิชามล    แซ่จึง  หัวหน้าสำนักงาน เป็นผู้ดำเนินรายการ

นายทำนอง ห่อไทยสงค์ ประธานเครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษ ได้กล่าวเปิดเวทีว่า สืบเนื่องมาจากเมื่อวันที่ ๕ มิถุนายน ๒๕๕๗ เครือข่ายเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษสู่ครัวโลกร่วมกับศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดศรีสะเกษ โรงเรียนสตรีสิริเกศ โรงเรียนกำแพง มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ และองค์กรเครือข่าย ได้ร่วมกันปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี บนพื้นที่จำนวน 5 ไร่

เกษมศานต์ ศรีโพนทอง ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ

วันนี้ป่าแห่งนี้กำลังอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านได้รับประโยชน์จากป่าแห่งนี้อย่างนานัปการ จึงได้จัดกิจกรรมวันนี้ขึ้น นายทูลทองใจ ดวนใหญ่ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตร ธกส. สาขาอำเภออุทุมพรพิสัย นายแพทย์สมคิด สุริยะเลิศ นายแพทย์  ประธานกลุ่มกสิกรรมไร้สาร ได้ร่วมแลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ในเรื่องของประโยชน์ของการปลูกป่า ขั้นตอนในการดำเนินการจำหน่ายเครดิตคาร์บอน

ทิวา รุ้งแก้ว เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ 

นายอุทัย สีหะวงษ์ ประธานสภาเทศบาลตำบลบึงบูรพ์แลกลี่ยน กล่าวว่า ตนทำเกษตรอินทรีย์เพราะเกิดจากแรงบันดาลใจที่ได้ไปศึกษาดูงานที่สวนจิตรลดาในฐานะสมาชิกชมรมคนรักในหลวงจังหวัดศรีสะเกษ จึงเกิดแรงบันดาลใจที่จะสืบสานปณิธานงานของพ่อหลวงโดยการทำเกษตรอินทรีย์แบบผสมผสานบนพื้นที่ ๖ ไร่ ปลูกทุกอย่างที่กินได้ กินทุกอย่างที่ปลูก เลี้ยงกบ เลี้ยงปลาในนาข้าว ทุกวันนี้มีเงินเก็บออมตามอัตภาพของเกษตรกร จึงขอเชิญชวนทุกท่านได้ร่วมกันทำเกษตรอินทรีย์วิถีศรีสะเกษขับเคลื่อนสู่ครัวโลกต่อไป

นายเกษมศานต์ ศรีโพนทอง ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษกล่าวว่า เมื่อเข้ามาทำหน้าที่จึงทราบว่า สภาเกษตรกรก็คือเสือกระดาษดีๆ นั่นเอง ไม่มีงบประมาณ ไม่มีอำนาจ มีหน้าที่ในการประชุม ปีละ ๔ ครั้ง แต่ก็ไม่ย่อท้อที่พยายามประสานกับทุกภาคส่วนเพื่อนำเสนอความเดือดร้อนของเกษตรกรสู่ภาครัฐให้ได้

นายทิวา รุ้งแก้ว เครือข่ายเกษตรอินทรีย์ ได้แลกเปลี่ยนแบ่งปันประสบการณ์ โดยให้ข้อคิดว่า เมื่อสัปดาห์ที่แล้วท่านนายกรัฐมนตรีได้ไปเยี่ยมพี่น้องชาวจังหวัดอุดรธานี ได้มีเกษตรกรถามเรื่องราคาข้าว ฯพณฯนายกรัฐมนตรีได้ตอบว่า "รัฐบาลไม่มีนโยบายเรื่องนี้" เวทีแบ่งปันประสบการณ์จึงได้แสดงพลังความต้องการโดยการยกมือไม่เห็นด้วยกับคำตอบของ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จึงมอบให้สภาเกษตรกรจังหวัดศรีสะเกษ สื่อความต้องการในเรื่องราคาข้าวให้รัฐบาลทราบว่า เกษตรกรต้องการหลักประกันในเรื่องนี้จากรัฐบาล

หลังจากนั้น เกษตรกรทั้งหมดจึงได้ร่วมกันไปประกาศเขตอภัยทาน ปล่อยนกสู่ฟ้า ปล่อยกบ ปล่อยปลาสู่น้ำ ตัดแต่งกิ่งต้นไม้ ต่อไป