มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เดินหน้าสร้างรถไฟพลังไฮโดรเจน ฝีมือคนไทยคันแรกของอาเซียน

มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เดินหน้าสร้างรถไฟพลังไฮโดรเจน ฝีมือคนไทยคันแรกของอาเซียน





ad1

มทร.อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น เดินหน้าสร้างรถไฟพลังไฮโดรเจน ฝีมือคนไทยคันแรกของอาเซียน ต้นแบบ 4 โบกี้ จุคนได้300 คน นำร่อง 4 กม. มั่นใจแล้วเสร็จปี 69 ด้วบงบวิจัยจากกระทรวง อว.

เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 6 ก.ค.2567 ที่ห้องประชุมชั้น 2 อาาร 50 ปีเทคโนไทย-เยอรมัน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น นายปริญ นาชัยสิทธิ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น แถลงข่าว การเช่าพื้นที่เพื่อจัดสร้างโรงงานประกอบรถไฟ Metro Train ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช มงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่นกับ บ.อมิตะ ออโตโมทีฟ จำกัด ท่ามกลางความสนในของนักวิจัย คณะอาจารย์ ,ผู้ประกอบการธุรกิจขนส่งระบบราง ,นักศึกษา และสื่อมวลชน เข้าร่วมรับฟังเป็นจำนวนมาก

นายปริญ กล่าวว่า มทร.อีสานวิทยาเขตขอนแก่น ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัย จาก กระทรวง อว.ในการพัฒนาระบบขนส่งระบบราง ต่อเนื่องจากรถไฟฟ้ารางเบา โดยสนับสานทุนวิจัย จำนวน 320 ล้านบาท ดำเนินงานวิจัยด้วยฝีมือคนไทย และรถไฟไทย ที่ใช้พลังงานสะอาด หรือไฮโดรเจน คันแรกของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งทีผ่านมาเราจะเห็นว่ารถไฟ ทั้งแบบบนดิน และใต้ดิน ยกตัวอย่าวเช่นรถไฟฟ้าระหว่างเมืองหรือ แอร์พอร์ตลิงก์ รถไฟฟ้าบีทีเอส และรถไฟฟ้าใต้ดิน เอ็มอาร์ที ทั้งหมดจะเป็นรถไฟฟ้า เป็นพลังงานหลัก ซึ่งทีมนักวิจัยของมหาวิทยาลัย ซึ่งดำเนินงานวิจัยระบบราง มาตั้งแต่รถไฟฟ้ารางเบาหรือรถแทรม ที่เกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ ไปก่อนหน้านี้ ที่ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิสูจน์ ของเจ้าหน้า แต่งานวิจัยชิ้นใหม่ ที่ กระทรวง อว.สนับสนุนสนุนนั้นเป็นรถไฟ พลังงานไฮโดรเจน ต้นแบบคันแรก จำนวน 4 โบกี้ ความจุผู้โดยสาร 300-400 คน ใช้พลังงานสะอาด ทั้งขบวน โดยมีขนาดราง 1.435 เมตร โดยจะดำเนินการก่อสร้าง ทุกชิ้นส่วนของรถและราง ด้วยฝีมือคนไทย แล้วเสร็จในปี 2569

"มหาวิทยาลัยฯได้ใช้พื้นที่ของตนเอง ที่ ต.โคกสี ซึ่งมีเนื้อที่ 243 ไร่ดำเนินการก่อสร้างอาคารและปรับพื้นที่รองรับขบวนรถไฟดังกล่าว ในระยะทาง 4 กม. ด้วยแนวทางการวิจัยของนักวิชาการที่ได้ออกแบบและกำหนดชิ้นส่วนต่างๆของขบวนรถ จากการพัฒนาร่วมกันของมหาวิทยาลัยและภารเอกชนชั้นนำของประเทศ ขณะที่ทีมนักวิจัยได้เข้ารับการอบรมและถอดบทเรียนเกี่ยวกับการจัดสร้างขบวนรถ ทั้วรถไฟฟ้า และรถไฟพลังงานต่างๆทั้งจากยุโรป,จีนและญี่ปุ่น จนกลายมาเป็นโครงงานวิจัยที่เป็นผลงานคยไทยล่าสุดที่กำลังจะเกิดขึ้นซึ่งรถไฟพลังงานสะอาดคันนี้ จะทำความเร็วได้ที่ 120 กม.ต่อ ชม.และเมื่อทำการทดสอบระบบและการวิ่งภายในมหาวิทยาลัยแล้วเสร็จก็จะทำการทดสอบในเส้นทางสายสีส้ม ของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อวิ่งกับขบวนรถไฟต่างๆของไทย "

นายปริญ กล่าวต่อว่า ขณะนี้ กระทรวง อว.ซึ่งพิจารณาให้ทุนกับมหาวิมยาลัย ทำวิจัยและผลิตรถไฟฟ้ารางเบา หรือแทรม ขบวนแรกของคนไทย ซึ่งเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้ไปนั้น ได้ทำการตรวจสอบที่เกิดเหตุและประเมินแผนการดำเนิานในด้านต่างๆอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการสอบสวนสาเหตุนั้นตำรวจกำลังดำเนินงาน ซึ่งทีมนักวิจัย ก็ต้องการทราบว่าเกิดจากอะไร และตรงจุดไหน หรือฝีมือคนทำ ซึ่งมหาวิทยาลัยจะดำเนินการซ่อมแซมรถให้แล้วเสร็จภายใน 9 เดือน เพื่อทำการทดสอบระบบและแสดงถึงมาตรฐานฝีมือคนไทยที่ได้มาตรฐานระดับโลก เริ่มจากรถไฟฟ้ารางเบา มาจนถึงงานวิจัยล่าสุดคือรถไฟพลังงานสะอาดต้นแบบ 4 โบกี้ และในอนาคต มหาวิทยาลัยจะทำการวิจัย ออกแบบ และจัดทำรถไฟฟ้าความเร็วสูง ตามแผนงานที่รัฐบาล และกระทรวง อว.เน้นหนักในเรื่องของการพัฒนาระบบขนส่งทางราง ซึ่งหลายหน่วยงานพร้อมให้การสนับสนุนและร่วมดำเนินการผลิตชิ้นส่วน,ระบบหรือ ส่วนประกอบต่างๆบองรถ อย่างเต็มศักยภาพอีกด้วย