กลุ่มเลี้ยงโคศรีวิชัยภาคใต้เตรียมบุกกรุงพบนายกฯแก้ราคาตกต่ำ


กลุ่มเลี้ยงโคศรีวิชัย 4 จังหวัดภาคใต้ เตรียมบุกกรุง พบนายกรัฐมนตรี ขอ 4 เรื่องลดต้นทุนการผลิต โอดครวญ โดยโคภาคกลาง- ต่างประเทศลากราคา “ดิ่งเหว” จาก 100 บาท / กก.เหลือ 70-75 บาท / กก. โคค้างสต๊อกอื้อกว่า 130,000 ตัว มูลค่ากว่า 2,500 ล้านบาท ระบุ ขาดทุนขายโคตัวละ 30,000 – 40,000 บาท ระบุ โคขาดแคลนอาหาร ต้องเซฟต้นทุนการผลิต ค่าอาหารโคเฉลี่ยปี 1.2 ล้านบาท จำนวน 200 ตัว ระบุ ตื้นเหตุโควิกฤติ โคนอกพื้นที่ โคต่างประเทศ เนื้อโคสำเร็จรูปต่างประเทศ เข้ามาดั้มราคา ชี้ เดือน “รอมฎอน” ตลาดเนื้อวัวตู้กระเตื้องขึ้น 50 % ยกเว้นเนื้อโคพรีเมียมตลาดยังฝืด ส่วนกลุ่มโคตอนบน จ.ประจวบ จ.เพชรบุรี เริ่มขาดแคลน แนวโน้มลงหาทางใต้
ดต.เสวียง แสงขาว วุฒิอาสาธนาคารสมอง สภาพัฒน์ ฯ จ.พัทลุง เจ้าฟาร์มโคเนื้อ จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ทางวิสาหกิจชุมชนเครือข่ายผู้เลี้ยงโคเนื้อศรีวิชัย จ.พัทลุง และในกลุ่มโคเนื้อศรีวิชัย กลุ่มยุทธศาสตร์จังหวัดภาคใต้ 4 จังหวัด จ.ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และจ.พัทลุง ได้เข้ายื่นหนังสือถึง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี นส.แพทองธาร ชินวัตร การประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2568 จ.พัทลุง ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการลงพื้นที่และรับฟังปัญหาและข้อเสนอแนะจากประชาชนที่ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ในการยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้จากราคาโคมีชีวิตตกต่ำมาตั้งแต่ปี 2565 มาจนถึงขณะนี้ และจาก 100 บาท / กก. ได้ลงมามาอยู่ที่ 70-75 บาท / กก. ทำให้สมาชิกกลุ่มเลี้ยงโคได้รับความเดือดร้อนมาก เงินทุนหมุนเวียนไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ ทุกรายได้รับผลกระทบหมด
เหตุผลเนื่องจากโคทางภาคกลางได้ถูกส่งลงมาสู่ทางภาคใต้ ส่งผลต่อราคาโคเนื้อทางภาคใต้ และทางพ่อค้าก็รับซื้อโคจากสมาชิกกดราให้ต่ำกว่าราคาทางภาคกลาง และหรือโคจากประเทศเพื่อนบ้าน จนส่งผลกระทบต่ออาชีพการเลี้ยงโคที่ไม่สามารถจะเลี้ยงต่อไปได้อีก จึงขอให้ภาครัฐสนับสนุนช่วยเหลือ
1.ส่งเสริมกลุ่มคนเลี้ยงโค ด้วยการปลูกหญ้า และข้าวโพด เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตการเลี้ยงโค 2. สนับสนุนเครื่องมือในการทำแปลงหญ้าและแปลงข้าวโพด เพื่อวัตถุของโค 3. ส่วนเสริมให้มีโรงงานแปรรูปโคผลิตภัณฑ์โค และผลิตภัณฑ์โค และ 4. สนับสนุนงบประมาณเพื่อเป็นเงินทุนการบริหารจัดการและเป็นเงินทุนหมุนเวียน.
“โดยเฉพาะพโคจากขจากประเทศเพื่อนบ้าน เป็นตัวทำราคาที่ลากราคาให้ต่ำลงมาก คือจะมีการทำราคาตัวละ 8,000 บาท 10,000 บาท ขณะที่โคบ้านเราตัวละ 20,000 บาท” ดค.เสวียง กล่าว.
ดต.เสวียง กล่าวอีกว่า สำหรับปศุสัตว์ สำหรับ จ.พัทลุง ถือว่าจ.พัทลุง เป็นพื้นที่เลี้ยงโครายใหญ่สุดของภาคใต้ มีทั้งโคเนื้อ โคพื้นบ้าน และโคนม โดยเฉพาะโคพื้นบ้าน ประมาณ 10,830 ตัว โคพันธุ์ ประมาณ 126,612 ตัว โดยเฉลี่ยโคตัวละ 20,000 บาท ภาพรวมเป็นมูลค่าประมาณ 2,748 ล้านบาท
“เก็บตัวเลขเบื้องต้นพอประมาณ ยังเหลืออีก 50 – 60 % โคพันธุ์และโคพื้นบ้าน ตัวเลขที่เป็นปัจจุบันยังที่ยังไม่ได้แจ้ง ตัวเลขที่เป็นปัจจุบันและเป็นจริงจะต้องแจ้งให้ปรากฎ เพราะจะกำหนดการตลาดได้ และจะเป็นเรื่องของดีมาด์ซัพพลายที่สำคัญมากที่จะทำราคาได้ จะต้องแก้ไขอย่างจริงจังในตรงนี้” ดต.เสวียง กล่าว และว่า
สถานการณ์การเลี้ยงโคเนื้อของกลุ่มเกษตรกรอยู่ในฐานะขาดทุนมาก โดยเฉพาะของกลุ่มตนค่าอาหาร วันละ 30,000 บาท – 40,000 บาท / วัน และตอนนี้ให้โคเนื้อกินอาหารแค่วันละ 10,000 กว่าบาท ให้อาหารโคเนื้อที่ไม่สมบูรณ์ เนื่องจากไม่มีต้นทุนการผลิต โดยค่าอาหารโคเนื้อเฉลี่ยปีละ 1.2 ล้านบาท จากจำนวน 200 ตัว
“ส่วนการการตลาดโคเนื้อก็ยังฝืดราคา 72 บาท / กก. จากราคา 100 บาท / กก. และก็ยังไม่มีตลาดรับซื้อ แต่จะขายได้ก็จะต้องขาดทุนตัวละ 30,000 – 40,000 บาท เพราะโคเนื้อตัวขนาดใหญ่ราคาประมาณ 100,000 บาท / ตัว อายุการเลี้ยง 2.5 ปี”
ดต.เสวียง กล่าวอีกว่า ปัจจัยสำคัญที่โคเนื้อทางภาคใต้ต้องล้นตลาด เพราะโคเนื้อจากอื่นๆ ข้ามเขต และจากต่างประเทศเข้ามาดั้มราคา โดยเฉพาะโคเนื้อจากที่อื่น ๆ ราคาจะต่ำกว่ามาก เพราะต้นทุนการผลิตต่ำ เพราะส่วนใหญ่จะเป็นการเลี้ยงโคลุยทุ่ง นอกนั้นแล้วยังมีเนื้อโคสำเร็จรูปเข้ามาดั้มราคาที่ต่ำมากอีกด้วย ผู้ประกอบผลิตอาหาร ร้านอาหาร ภัตตาคาร บางส่วนจะหันไปซื้อเนื้อโคสำเร็จรูปมาแปรรูปเป็นอาหารเพราะได้ราคาดี
แหล่งข่าวในวงการผู้ประกอบการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า สถานการณ์ท่องเที่ยวกลุ่มจังหวัดชายแดนภาคใต้ และ จ.สงขลา ขณะนี้นักท่องเที่ยวจากประเทศมาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย จะเข้ามาท่องเที่ยวปริมารมากต่อปี โดยเฉลี่ยมากกว่า 50 % จะเป็นนักท่องเที่ยวเชื้อมุสลิมมาเลเซีย เทียบกับนักท่องเที่ยวเชื้อสายจีน มาเลเซีย และเชื้อสายอินเดียมาเลเซียจะปริมาณน้อยกว่า ซึ่งจะส่งผลต่อร้านอาหาร ภัตตาคาร อาหารมุสลิมฮาลาลขยายตัวเป็นจำนวนมากตามพื้นแหล่งท่องเที่ยวนักท่องเที่ยว
นายวิรัตน์ รอดนวล ประธานกรรมการ วิสาหกิจชุมชนคนเลี้ยงวัวลังกาสุกะพัทลุง และประธานกรรมการ บริษัท ลังกาสุกะฟาร์ม จำกัด เปิดเผยว่า ทางด้านสถานการณ์การตลาดโคพื้นบ้าน และโคเนื้อ จะกระเตื้องขึ้นมากในเดือนรอมฏอนมีนาคม 2568 เนื่องจากชาวไทยอิสลามจะถือศิลอด ประมาณ 1 เดือน จะส่งผลให้ตลาดเนื้อวัวจะสร้ายอดขายได้เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 50 % ภาพรวมทั่วประเทศ และยังส่งผลให้ราคาต้องมีการปรับตัวดีขึ้นจากกว่า 70 บาท / กก. น่าจะไต่ขึ้นถึง 80 บาท / กก. ราคาโคมีชีวิต
“ตอนนี้ทราบข่าวว่าโคพื้นบ้าน โคเนื้อตอนบน จ.ประจวบคีรีขันธุ์ จ.เพชรบุรี เริ่มจะขาดแคลนแล้ว และแนวโน้มจะเข้ามาหาซื้อโคทางภาคใต้อย่างเลี่ยงไม่พ้น แต่จะเป็นกลุ่มเนื้อตู้หรือกลุ่มวัวโคเชือด จะไม่ใช่โคเนื้อพรีเมียม แต่โคเนื้อพรีเมียมก็พอจะขายได้อยู่บ้าน เพราะกลุ่มเนื้อพรีเมียมราคาจะสูงกว่า”
นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ในเดือนรอมฎอนชาวมุมลิมจะมีกำลังซื้อเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่ง แทบจะเป็นไปทุกครัวเรือน ไม่เฉพาะตลาดเนื้อวัว สินค้าอื่น ๆ ก็จะกระเตื้องตามไปด้วย หากสภาพภูมิอากาศเอืออำนวยได้ประกอบการการเกษตรกรีดยางได้ดี เพราะราคายางดี และปาล์มก็ราคาดีด้วย.