ปี'68 วงการเลี้ยงหมู “กวาดคอก” ครั้งใหญ่สร้างสมดุลแก้หมูล้นตลาด

ปี'68 วงการเลี้ยงหมู “กวาดคอก” ครั้งใหญ่สร้างสมดุลแก้หมูล้นตลาด





Image
ad1

“ปี 68” วงการเลี้ยงหมู “กวาดคอก” ครั้งใหญ่ นับตัวเลขหมูใหม่สร้างความสมดุล การบริโภค-การเลี้ยง เพื่อพยุ่งราคานิ่ง สาเหตุโดยหมูเถื่อนสวมรอยเข้าโรงเชือดทะลุกว่า 60,000 ตัว จากปกติเข้าโรงเชือด 50,000 – 55,000 ตัว / วัน 

นายปรีชา กิจถาวร นายกสมาคมการค้าเลี้ยงสุกรภาคใต้ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วนี้ ๆ ทางสมาคมผู้เลี้ยงสุกร ได้ร่วมประชุมกับกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อจัดระเบียบการเลี้ยงสุกรใหม่ เพื่อให้ตัวเลขสุกรเกิดความทันสมัยและมีความสมดุลระหว่างการเลี้ยงกับการบริโภค เพื่อพยุงให้ราคาสุกร ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เลี้ยงสุกรอยู่ได้

ซึ่งโดยจะจัดทำตัวเลขใหม่ในการเลี้ยงสุกรเข้าระบบให้แม่นยำ โดยจะเข้านับตัวเลขการเลี้ยงสุกรตามฟาร์มต่าง ๆ ทั่วทั้งประเทศ จำนวนกี่ราย จำนวนตัว ของแต่ละตำบล อำเภอ จังหวัดที่เลี้ยง

“สำหรับทางจังหวัดภาคใต้ มีความพร้อมแล้วที่จะให้เข้าไปนับจำนวนการเลี้ยง  โดยทางจังหวัดภาคใต้ ที่มีการเลี้ยงรายใหญ่ คือ จ.นครศรีธรรมราช จ.พัทลุง และ จ.สุราษฎร์ธานี” นายปรีชา กล่าว และว่า

ปัจจัยที่ต้องมีการนับจำนวนตัว สาเหตุมีที่มาของรายการบัญชีที่สุกรเข้าสู่โรงเชือด ซึ่งบางปีโดยบางวันจะเข้าสู่โรงเชือดประมาณกว่า 50,000 ตัว และกว่า 60,000 ตัว / วัน ทั้งในขณะนั้นสุกรขาดแคลน เนื่องจากมีการทำลายสุกรกันมาก เพราะเกิดโรคระบาด  ASF ตลอดจนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายเล็กรายย่อย และผู้เลี้ยงรายขนาดกลาง ได้ยุติการเลี้ยงไปแล้วเป็นจำนวนมากจึงมีข้อกังวลเกิดขึ้นถึงสถานการณ์ที่เข้าสุกรโรงเชือดเกินปริมาณมาก สงสัยว่ามีการนำเข้าสุกรมาสวมรอยสุกรไทยแล้วเข้าสู่โรงเชือด

สุกรโดยปกติที่สมดุลกับภาวะการบริโภคภายในประเทศจะเข้าโรงเชือดประมาณ 50,000 ตัวเศษ แต่เมื่อเข้าสู่โรงเชือดกว่า 50,000 ตัวและกว่า  60,000 ตัว / วัน จึงต้องมีที่มาของสุกร จึงต้องการนับจำนวนสุกรที่มีการเลี้ยงกันใหม่ ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรวมอยู่กันได้

“หากมีการนับตัวเลขว่ามีการเลี้ยงเกินมากไป ก็จะมีการขอความร่วมมือจากผู้เลี้ยงรายใหญ่ ให้มีการลดจำนวนเลี้ยงลง”

นายปรีชา กล่าวอีกว่า วงจรสุกรเคยเป็นมาอย่างนี้ตลอดนับสิบ ๆ ปี สุกรเมื่อเกิดควาสมดุลราคาดี เมื่อราคาดีก็มีการขยายตัวลงทุนการเลี้ยง พอเลี้ยงมากสุกรก็เกิดล้นตลาด ราคาก็ร่วงลงมา ก็ประสบกับการขาดทุนอีกระลอกจนไม่มีการฟื้นตัวมาแล้วจนถึงขณะนี้เป็นเวลา 2 ปีมาแล้ว

แหล่งข่าวจากวงการเลี้ยงเลี้ยงสุกร เปิดเผยว่า กลุ่มผู้เลี้ยงยังมีความกังวลกันว่าสุกรยังมีการนำเข้ามาจากต่างประเทศทั้งที่ถูกต้องและไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีสุกรจำนวนมากที่ต่างประเทศไม่บริโภคประเภทชิ้นส่วน เช่น เครื่องใน หนัง จึงมีการส่งออก และจะเป็นสินค้าที่ราคาไม่สูง ส่วนใหญ่จะมีการนำเข้าทางทะเลที่มีท่าเรือ นอกนั้นก็จะเป็นทางบกตามแนวพื้นที่ชายแดนได้ทั่วประเทศ

ทางด้าน นายภักดิ์ ชูขาว เหรัญญิกสมาคมการค้าเลี้ยงสุกรภาคใต้ และเจ้าของภักดีฟาร์ม อ.ควนขนุน จ.พัทลุง เปิดเผยว่า การเลี้ยงสุกรกลุ่มเกษตรกรรายย่อยรายเล็กจะยังไม่ล้มลงไปทั้งหมด เพราะได้จุดเด่น คือการเลี้ยงสุกรตัวใหญ่ขนาด 130 -140 กก. เนื่องจากกลุ่มโบรกเกอร์ โรงเชือด และกลุ่มเขียงหมู มีความต้องการมาก เพราะสุกรตัวใหญ่สมบูรณ์ด้วยเนื้อและชิ้นส่วนต่าง ๆ ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นส่งผลให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นถึงตัวละ 1,600 บาท – 1,700 บาท และสุกรตัวขนาดใหญ่ จะเพิ่มรายได้ให้กับทุกฝ่ายทั้งผู้เลี้ยง ผู้ซื้อ และผู้ขายต่างกับสุกรรายขนาด 100 กก. 105 กก. และ 110 กก. 

และยังมีจุดได้เปรียบของภาคเกษตรกร คือการเลี้ยงสุกรแบบภายในครัวเรือนโดยขนาดเลี้ยง 100 แม่พันธุ์ ลดต้นทุนการผลิตได้มากทั้งอัตราค่าแรงงาน  ในขณะที่มีการจะปรับอัตราค่าแรงงานที่สูงขึ้น ฯลฯ  

“พบจุดได้เปรียบของภาคเกษตรกรแล้ว คือ 1. แรงงานครัวเรือน และเลี้ยงสุกรขนาด 130 กก. และ 140 กก.” นายภักดิ์ กล่าว.

และแนวโน้มอนาคตหากภาคเกษตรกรรายย่อย รายเล็ก รายขนาดกลาง หากได้ปรับกลยุทธเลี้ยงสุกรตัวใหญ่ และเลี้ยงใช้ระบบภาคภายในครัวเรือน เพื่อดลทุนการผลิต ค่าอาหาร โดยเลี้ยงสร้างมูลค่าเพิ่ม จะสามารถแข่งขันกันได้.