“ช้างใต้”ทะลักเมืองท่องเที่ยว ภูเก็ต กระบี่ พังงา บริการนักท่องเที่ยวทำนับแสน/ วัน

“ช้างใต้”ทะลักเมืองท่องเที่ยว ภูเก็ต กระบี่ พังงา บริการนักท่องเที่ยวทำนับแสน/ วัน





Image
ad1

“ช้างใต้” ช่วงไฮต์ซีซั่น ทะลักเข้าเมืองท่องเที่ยว ภูเก็ต กระบี่ พังงา ยอดนิยมของชาวต่างชาติ ทำเงินนับแสนบาท / วัน

นายทศพล ขวัญรอด เจ้าของโครงการโคก หนอง เศรษฐกิจพอเพียง อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช และประธานเครือข่ายชาวสวนยางพาราและปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย (คยปท.) เปิดเผยว่า  ช้างเป็นเป็นสัตว์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติไทย เป็นช้างกู้ชาติชาติบ้านเมืองในอดีต จึงควรอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ ซึ่งทางภาคใต้กำลังจะเป็นสัตว์หายากที่จะหามาทำพิธีเพราะช้างโดยส่วนใหญ่จะมีไปอยู่ตามแหล่งเมืองท่องเที่ยวขนาดใหญ่ เช่น จ.ภูเก็ต กระบี่ พังงา จ.สงขลา เพื่อบริการนักท่องเที่ยวต่างชาติได้ชมช้าง ขี่ช้าง ถ่ายรูปเซลฟี่ ซึ่งเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวจากชาวต่างชาติมาก ทำให้ช้างได้มีรายได้บางกลุ่มรายได้หลักแสนบาทต่อวัน”

ปัจจุบันช้างทางภาคใต้ช้างค่อนข้างจะไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ได้ เพราะที่อยู่ที่กินของช้างกำลังแคบมากตามป่าก็ได้ปลูกพืชเศรษฐกิจ  ส่งผลให้ช้างไม่มีที่อยู่ที่กินและช้างจะเกิดอดยากต้องหามารุกพื้นทำกินของชาวบ้าน แต่สำหรับ จ.นครศรีธรรมราชมีอยู่ไมท่ถึง 10 เชือก เช่น อ.พรหมคีรี อ.ท่าศาลา ฯลฯ

“งานของช้างคือรับจ้างลากไม้ซุง ไม้ยางพารา ปัจจุบันก็มีปริมาณน้อยอยู่ในพื้นที่ก็ไม่มีงาน จึงโยกย้ายช้างไปยังที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวต่างชาติ สำหรับตนได้นำเอามาจัดทำพิธีแห่นาคงานบวช คู่ละ 15,000 บาท แต่ต้องการเชือกเดียว ราคาประมาณ 9,000 บาท เจ้าของช้างบางรายมีงานทำตลอดเดือน จะมีรายได้กว่า 100,000 บาท / เดือน”

นายทศพล กล่าวอีกว่า ช้างจะกินอาหารมากน้อยตามน้ำหนักโดยช้างน้ำหนัก 1 ตัน จะกินอาหาร 100 กก. ช้างจะน้ำหนักประมาณ 3 – 4 ตัน จะกินอาหารวันละ  300 - 400 กก. จะเป็นจำพวกหญ้าเนเปีย และต้นกล้วย ซึ่งจะต้องซื้ออาหารเป็นรถบรรทุก 6 ล้อ ให้ช้างจึงพอเพียง

เจ้าของช้าง อ.กงหรา จ.พัทลุง เปิดเผยว่า แต่เดิมเมื่อกว่าปีก่อน ช้างมีประมาณ 10 เชือก โดยบางรายมีถึง 3 เชือก เลี้ยงไว้บริการรับจ้างลากไม้ซุง ไม้ยางพารา จากพื้นที่ลาดชั้นสูงที่รถไม่สามารถเข้าไปบรรทุกได้ จึงจำเป็นต้องใช้ช้าง
แต่ปัจจุบันการทำธุรกิจอุตสาหกรรมไม้ซุง ไม้ยางพารา แทบจะไม่มีการใช้บริการจากช้างโดยจะใช้รถ จึงมีการปล่อยช้างให้ออกจากพื้นที่เข้าสู่เมืองท่องเที่ยวเพื่อบริการทางธุรกิจการท่องเที่ยว โดยขายออกและให้เช่าไป โดยเมื่อ 10 ปีก่อน ราคาช้างเชือกประมาณ 300,000 บาท และ 350,000 บาท

แหล่งข่าวจากโรงพยาบาลช้าง ต.โคกกลอย อ.ตะกั่วทุ่ง จ.พังงา กล่าวว่า ช้างตั้งแต่ จ.พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช ฯลฯ ยังมีอยู่  เมื่อถึงฤดูกาลอุตสาหกรรมไม้ซุงยางพารา ช้างจะมีงานทำโดยรับจ้างลากไม้ซุงยางพาราจากพื้นที่ที่รถเข้าไปไม่ถึง
แต่เมื่อหมดฤดูกาลโค่นไม้ยางพาราแล้วช้างแต่ละเชือกก็จะเข้าสู่อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวรายสำคัญภาคใต้ที่นิยมของนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศ คือ จ.ภูเก็ต กระบี่ พังงา สมุย สุราษฎร์ธานี ฯลฯ โดยรวมกลม ๆ จะมีช้างประมาณ 1,000 เชือก จ.ภูเก็ต วงกลมประมาณ 300 เชือก นอกนั้นกระบี่ พังงงา สมุย 70-80  เพื่อบริการนักท่องเที่ยว นอกนั้นกระจัดกระจายไปตามจังหวัดต่าง ๆ  เพราะช้างยังใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา ทางประเพณีต่าง  เช่น งานบวช งานแห่พิธี ฯลฯ

“ช้างทางภาคใต้ ส่วนใหญ่จะมาจากทางภาคเหนือ และ จ.สุรินทร์ ทั้งมีการเปลี่ยนมือซื้อขาย และเข้ามาทำงานไปตามฤดูกาลไฮต์ซี่ซั่นการท่องเที่ยวย่านทะเลอันดามัน ช้างไทยปัจจุบันยังไม่สูญพันธุ์ แต่อนาคตไม่อาจจะยืนยันได้” 

นายอำนาจ พฤกษ์พิกุล อาชีพมัคคุเทศก์ เปิดเผยว่า ช้างเป็นที่นิยมของนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นอย่างมาก เมื่อเข้าไปมาแล้วจะเข้าชมการแสดงของช้าง ขี่ช้าง ซึ่งการขี่ช้าง เช่น ที่ฟาร์มช้าง อ.เมือง จ.สงขลา ต่อรอบต่อหัว 700 บาท เวลาประมาณ 30 นาที โดยขี่ช้างได้เชือกละ 2 คน และควาญช้าง 1 คน รวมเป็น 3 คน

“ช้างจะอยู่ตามเมืองท่องเที่ยวที่มีต่างชาติเป็นส่วนใหญ่ เช่น จ.สงขลา ภูเก็ต กระบี่ พังงา สมุย สุราษฎร์ธานี พัทยา และเชียงใหม่ โดยในช่วงไฮต์ซี่ซั่นจะมีรายได้ที่ดี”