คนอีสานตอนบน-ล่าง แห่ปลูกทุเรียนดันที่ดินพุ่ง 9 เท่า จากไร่ละหมื่นขยับแสนบาท


คนอีสานตอนบน-ล่าง แห่ปลูกทุเรียน ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ส่งผล “ที่ดิน” ปรับพุ่ง 9 เท่าตัว จากไร่ละ 10,000 บาท เป็น 100,000 บาท สายมิตรภาพ กรุงเทพ-หนองคาย เดิม 50,000 – 60,000 บาท ปรับตัว 4 ล้านบาท / ไร่ อีสานแนวโน้มโชติช่วงชัชวาล ภาคอื่นของประเทศพื้นที่จำกัดแล้ว
แหล่งข่าวจาก จ.พัทลุง เปิดเผยว่า ชาว จ.พัทลุง ที่ได้ย้ายถิ่นฐานไปปักหลักประกอบอาชีพและมีครอบครัวยังอีสาน ทั้งอีสานใต้และอีสานบน คนทางใต้ไม่เฉพาะ จ.พัทลุง ยังมีจาก จ.ตรัง สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และ จ.สงขลา
“สำหรับตนเองได้ไปตั้งถิ่นฐานและประกอบอาชีพอีสานตอนบนมาร่วม 30 ปี โดยในระยะแรกที่ดินมีราคาเคลื่อนไหวแหล่งย่านทางเศรษฐกิจราคาประมาณ 50,000 บาท - 70,000 บาท / ไร่ แต่มาขณะนี้ราคาได้ทยอยปรับตัวสูงขึ้นบางจุดริมถนนใหญ่สายมิตรภาพหนองคาย กรุงเทพฯ สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น อุบลราชธานี อุดรธานี หนองคาย บางจุดปรับตัวถึง 5 ล้านบาท / ไร่”
แหล่งข่าวคนเดิม กล่าวอีกว่า แต่ถึงอย่างไรที่ด้านรอบนอกราคายังมีระดับ 150,000 บาท และ 200,000 บาท และมีอยู่เป็นจำนวนมากทั้งแปลงขนาดเล็กขนาดใหญ่ 20 – 30 ไร่ 40 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมสำหรับเกษตรกรรม
“ซึ่งที่ดินราคาจะดับนี้เป็นที่ราบลุ่มเหมาะต่อสมกับการเกษตร เช่น ปาล์มน้ำมันและยางพารา ปลูกนอกจากไร่อ้อย ไร่มัน ไร่ข้าวโพด”
แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า แต่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันจะมีผลผลิตปริมาณที่ต่ำคือประมาณ 20 % หากภาคใต้จะได้ 100 % เช่นเดียวกับทุเรียน ยางพารา ปริมาณทางภาคใต้จะดีกว่าเช่นกัน ปัจจัยคือเรื่องแหล่งน้ำเป็นสำคัญ เพราะน้ำใต้ดินอยู่ลึกมาก ต้องลงทุนขุดสระน้ำ บ่อบาดาลที่ลึกมาก ซึ่งต่างกับแหล่งน้ำทางภาคใต้มาก
และในส่วนของการทำโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคก หนอง นา ที่ได้รับความนิยมก็เช่นกัน ก็จะมีอุปสรรคเรื่องน้ำ เพราะน้ำจะมีอายุระยะสั้นประมาณ 4 เดือน / ปี และสำหรับพื้นที่เหมาะสมทางเกษตรกรรมจะเน้นไปอีสานใต้จะเหมาะสมกว่า และขณะนี้จะมีการปลูกทุเรียนกันแล้ว
“คนภาคใต้ก็จะอยู่กันแทบทุกจังหวัดแต่ที่มากคือ จ.บึงกาฬ จ.หนองคาย ส่วนใหญ่จะลงทุนทำสวนยางพารากัน” แหล่งข่าว กล่าว
ทางด้าน นายทศพล ขวัญรอด ประธานภาคีเครือข่ายชาวสวนยางพาราและสวนปาล์มน้ำมันแห่งประเทศไทย (คยปท.) เจ้าของโครงการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โคก หนอง นา อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช เปิดเผยว่า อีสานจะเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจการค้าในกลุ่มประเทศอาเชียนจากอีสานอยู่ใกล้กับประเทศขนาดใหญ่สำคัญของโลกคือประเทศจีน เวียดนาม สปป.ลาว และกัมพูชา
และอีสานยังจะเป็นแหล่งอาหารขนาดใหญ่ด้วย เพราะเป็นพื้นที่ขนาดใหญ่ของประเทศ โดยพืชที่เหมาะสมสูงสุดเข้ากับสภาพบริบทพื้นที่คือพืชไร่ ซึ่งจะต่างกับภาคใต้คือแหล่งพืชสวน พืชไร่ เช่น ข้าวโพด อ้อย มัน และถั่ว ต่างเป็นปัจจัยสำคัญทางอาหารทั้งคนและอุตสาหกรรมสัตว์ ตลอดจนถึงพลังงงานเอทานอล ซึ่งขณะนี้ตลาดมีความต้องการสูงและไทยต้องนำเข้าจากต่างประเทศ
นายทศพล กล่าวอีกว่า ส่วนพืชอื่นก็ปลูกได้หลายตัว แต่จะไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ เช่น ปาล์มน้ำมัน ยกเว้นพื้นที่ริมห้วย คลอง หนอง เพราะปาล์มน้ำมันจะบริโภคน้ำปริมาณมาก / วัน ส่วนยางพาราไปได้ในหลายจังหวัดย่านริมแม่น้ำโขง เช่น จ.หนองคาย บึงกาฬ เป็นต้น
“แต่สำหรับอีสานใต้ จะสามารถปลูกพืชสวนได้ ทั้งทุเรียน มังคุด เงาะ โดยเฉพาะ จ.ศรีษะเกษ จ.สุรินทร์ ฯลฯ ผลผลิตจะมีคุณภาพค่อนข้างสูงถึง 90 % เมื่อเทียบกับภาคใต้”
นายทศพล กล่าวอีกว่า ตอนนี้ราคาที่ดินอีสานใต้และอีสานบนต่างปรับตัวอย่างพื้นที่รอบนอกเมื่อ 15 ปีก่อน เช่น จ.ศรีษะเกษ ราคา 10,000 บาท - 15,000 บาท / ไร่ โดยได้ทอยปรับตัวมาปัจจุบันได้ปรับตัวสูงขึ้นประมาณ 100,000 บาท / ไร่ แต่ไม่ปรากฎว่ารายใดอยากจะขายออก แต่หากมีการต่อรองซื้อขายราคาที่สูงก็จะมีการขายเช่นกัน เรื่องที่ดินประชาชนมีการตื่นตัวสูงมาก ว่าจะมีแนวโน้มที่ดีทางอีสาน เพราะภาคอื่น ๆ พื้นที่กำลังจำกัด และยังเกิดภาวะน้ำท่วม แผ่นดินไหวจะมีการโยกย้ายเคลื่อนที่ทำกิน
แนวโน้มทางอีสานจะขยายตัวเติบโตทั้งพืชสวน พืชไร่ ปาล์มน้ำมันและยาง เพราะคนทางอีสานได้ทยอยกลับบ้านคืนถิ่นโดยได้นำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน และภูมิปัญญาจากต่างถิ่นต่าง ๆ กลับไปที่พื้นที่บ้านตนเองแล้วนำมาประยุกต์ใช้ จะเห็นว่าขณะนี้แรงงานอีสานจะขาดแคลนกันแล้ว โดยมีแรงงานจากประเทศเมียนมาเข้ามาทดแทน
“เพราะเดิมทางอีสานได้เดินทางมาประกอบอาชีพรับจ้างยังภาคใต้ตั้งแต่ จ.สุราษร์ธานี นครศรีธรรมราช ฯลฯ แล้วได้ภรรยาและสามีเป็นชาวสุราษฎร์ นครศรีธรรมราช แล้วก็พาครอบครัวย้ายกลับถิ่นฐานโดยคนใต้ก็จะขายพื้นที่ของตนเองจำนวน 10 ไร่ เมื่อประมาณ 40 ปี แล้วจะไปซื้อที่ดินอีสานได้จำนวน 200 ไร่ ขณะนั้นราคา 800 -900 บาท / ไร่ แล้วมีการนำภูมิปัญญาชาวบ้านในพื้นทีเข้าทำสวนของตนเอง”
นายทศพล กล่าวอีกว่า อีสานใต้สามารถปลูกพืชสวน ส่วนอีสานบนสามารถปลูกพืชไร่ ต้องมีการแยกโซนเป็นไปตามบริบท พร้อมรุกนโยบายและปฏิบัติการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าคือผลิตวัตถุเองแปรรูปเองออกขาย
“ไม่ใช่อุตสาหกรรมการเกษตร ที่เกษตรกรผลิตวัตถุดิบแล้วส่งวัตุดิบขายต่อกลุ่มโรงงานนำไปแปรรูปแล้วมาขายคืนให้กับเกษตรกร” นายทศพล กล่าว และว่า
ตรงนี้รัฐบาลต้องมีนโยบายมีมาตรการส่งเสริมเกษตรกร เพราะเกษตรจะไม่มีเงินทุนในการลงทุนแปรรูป หากได้เกษตรกรได้ก็จะฟื้นขึ้นมาก เพราะอีสานเป็นภาคขนาดใหญ่และมีพื้นที่ขนาดใหญ่ของประเทศในขณะนี้ในขณะภูมิภาคต่าง ๆ พื้นที่จะมีจำกัดเพิ่มขึ้น.