ดร.โสโชคจัดประเพณีสืบสานตำนานบุญล้อมข้าว ปีใหม่ ฟังเสียงธนูว่าว ขี่ควายดีดพิณ วิถีอีสาน

ดร.โสโชคจัดประเพณีสืบสานตำนานบุญล้อมข้าว

ดร.โสโชคจัดประเพณีสืบสานตำนานบุญล้อมข้าว ปีใหม่ ฟังเสียงธนูว่าว ขี่ควายดีดพิณ วิถีอีสาน





ad1

ย่างเข้าสู่ฤดูหนาวหลังฤดูเก็บเกี่ยว ของเกษตรกรชาวนาทางภาคอีสาน กับ วัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านหาชมได้ยาก ที่ยังคงมีการสานต่อสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ให้เห็นถึงมรดกอีสานไทย

26 ธันวาคม​ 64  ดร.โสโชค สู้โนนตาด ปราชญ์แห่งภูมิปัญญาไทย ทางด้านวัฒนธรรมอีสาน เสียงดนตรีท้องถิ่นพิณ-แคน บ้านทุ่ง ผ่านการเรียนรู้วัฒนธรรมอีสานท้องถิ่น ให้เห็นถึงประเพณีหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าว  ย่างเข้าสู่ฤดูหนาว ตามแบบฉบับคนอีสานขนานแท้

ดร.โสโชค สู้โนนตาด รวมนักปราชญ์ด้านดนตรีและวัฒนธรรมท้องถิ่น ร่วมกันจัดกิจกรรม ที่หาชมได้ยากแล้วในปัจจุบันนี้ เริ่มจากเสียงธนูว่าว ที่ถูกสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยโบราณ จากการขึ้นคันธนูเหลาหวาย ผูกเชื่อมโยงติดกับตัวว่าว ขึ้นรับลมบนส่งเสียงดนตรีจากสรวงสวรรค์ฟากฟ้า แทนเสียงดนตรีที่หาฟังได้ยากในยุคสมัยก่อน เกษตรกรนอนฟังเสียงสนูว่าวยามค่ำคืน กองฟางและแสงดาว รุ่งสางยามเช้านำสนูว่าว กลับลงพื้นดิน ต่างแยกย้ายทำมาหากินตามวิถี นำขึ้นฟ้าอีกทียามเย็นพบค่ำ ส่งเป็นเสียงสนูว่าวหนาวลม ได้ถูกสืบสานมาจนปัจจุบัน ส่งต่อสืบสานมาเป็นวัฒนธรรมอีสานไทย

ตีข้าว ซัดต่อฟาง พุ่งเสียบหลาว กลายเป็นประเพณีการละเล่นการแข่งขัน ความแม่นยำและความชำนาญของชาวนา สมัยยังไม่มีเครื่องสีข้าว ถูกส่งต่อมาสู่รุ่นลูกรุ่นหลาน ให้ได้เรียนรู้ก่อนที่จะมีเทคโนโลยีอันทันสมัยเข้ามาอยู่ในช่วงปัจจุบันนี้ หากมองย้อนกลับไป จะบ่งบอกถึงรากเหง้า ชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ใช้ชีวิตอยู่ได้แม้เงินทองอันน้อยนิด ทำให้หยุดคิดถึงภูมิปัญญา

อีกทั้ง " ปี่ตอฟาง" เครื่องดนตรีจากธรรมชาติ ที่ชาวนารุ่นปู่ย่าตายาย ได้ประดิษฐ์คิดค้น ส่งเป็นเสียงดนตรี สร้างความสนุกสนานเพลิดเพลินให้กับการทำนา บวกกับเสียงเพลงกลอนขับขาน เกิดเป็นตำนานอีสานไทย

ศูนย์ภูมิปัญญาไทย ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 155 ม.17 ตำบลชีลอง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ อีกหนึ่งสถานที่ ที่สามารถเปิดให้ประชาชน ที่สนใจการเรียนรู้ภูมิปัญญาไทยประเพณีอีสานที่สืบสานตกทอดต่อกันมาอย่างยาวนาน ทั้งในด้านวัฒนธรรมการเป็นอยู่เสียงดนตรี ที่ดร. โสโชค  สู้โนนตาด ได้เป็นผู้สืบสานตั้งกลุ่มเล่าขานตำนาน จนจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เพื่อเยาวชนรุ่นใหม่ ให้ทราบถึงวัฒนธรรม ชาวอีสาน ที่สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้สืบมาจนปัจจุบันนี้ สร้างเป็นภูมิปัญญา การใช้ชีวิตแบบผสมผสานให้ผ่านวิกฤต สภาวะสังคมในปัจจุบันสืบไป

ทิ้งท้ายกับบรรยากาศยามเย็น กับการถ่ายทอดตำนานเสียงพิณ บนหลังควาย อันไพเราะบนท้องทุ่งผืนนา ที่ต้องบอกเลยว่าสังคมเมืองต้องอิจฉา เมื่อต้องย้อนกลับมาเจอกับวิถีแบบภูมิปัญญาไทย จังหวัด​ชัยภูมิ​ /

มัฆวาน วรรณกุลผู้สื่อข่าวภูมิภาค