สัญญาณเตือน "ความมั่นคงทางด้านอาหารภาคใต้"เริ่มวิกฤติ ต้องเร่งปฏิบัติการปลูกข้าวและส่งออกต่างประเทศ

สัญญาณเตือน "ความมั่นคงทางด้านอาหารภาคใต้"เริ่มวิกฤติ ต้องเร่งปฏิบัติการปลูกข้าวและส่งออกต่างประเทศ





ad1

นาข้าวลุ่มน้ำปากพนัง “นครฯ พัทลุง สงขลา” วูบหนัก เร่งจัดยุทธศาสตร์ “ความมั่นคงทางด้านอาหาร” เป้าหมาย การส่งข้าวออกไปยังสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ปรับพัฒนาพันธุ์และปลูกข้าวให้ตอบโจทก์

นายสุทธิพร กาฬสุวรรณ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมโรงสีข้าวและชาวนาภาคใต้  เปิดเผยว่า ทางสมาคม ได้ทำแนวทางแก้ไขปัญหาข้าวทั้งระบบในโครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง อันเนื่องมาจากพระราชดำรัส จ.นครศรีธรรมราช จ.สงขลา และ จ.พัทลุง

คือ 1. การทำงานร่วมระหว่างภาคเอกชนและภาครัฐ กำหนดสายพันธุ์ข้าวเพื่อตอบตลาดผู้บริโภค ทั้งข้าวพื้นเมือง ข้าวส่งเสริม ข้าวอินทรีย์ และพันธุ์ข้าวที่เป็นสินค้าส่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ เช่น ข้าวสังข์หยดเมืองพัทลุง เป็นต้น 

2. นโยบายการส่งออกข้าวชายแดนภาคใต้ รวมทั้งการค้าผ่านแดนจากจังหวัดชายแดนภาคใต้ไทย ผ่านมาเลเซีย สู่ประเทศสิงคโปร์ และประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งทางสมาคม ได้พยายามผลักดันมาโดยตลอดจนมี มีมติ ครม. เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2553 มอบหมายให้กระทรวงต่างประเทศ เจรจากับประเทศมาเลเซีย เพื่ออำนวยความสะดวกการขนส่งผ่านแดนไปยังประเทศสิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เพื่อจะให้ลดต้นทุนการผลิต เช่น ด้านการขนส่ง  

“ปรากฎว่าจนถึงขณะนี้กว่า 10 ปี ก็ยังไม่มีความคืบหน้าทั้งที่ไทยเป็นประเทศสมาชิก WTO ด้วยกัน ซึ่งจะให้มาเป็นสนามการค้าด้วยกันได้”

นายสุทธิพร กล่าวอีกว่า เรื่องการตลาดค้าข้าวทางภาคใต้ รัฐบาลต้องเจรจากับรัฐบาลมาเลเซียเพื่อให้ข้าวภาคใต้ส่งข้าวออกได้โดยตรง และชาวมาเลเซียเองก็นิยมบริโภคข้าวไทยมาก ส่วนเรื่องนาข้าวภาคใต้ หากรัฐบาลไม่เร่งดำเนินการแล้วจะเกิดปัญหาเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารในวันข้างหน้า เพราะจากสภาพที่เกิดขึ้นขณะนี้พื้นที่ทำนากำลังปรับเปลี่ยนมากแล้วจะกระทบกับทุกฝ่าย และจะถึงภาครัฐบาลด้วย ดังนั้นต้องเร่งดำเนินการจัดทำยุทธศาสตร์และปฏิบัติก่อนที่จะสายไป

ทั้งนี้เนื่องจากการทำนาข้าวปัจจุบันจากข้อมูลที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปี 2565/66  จ.พัทลุง จำนวน 92,474.22 ไร่ จ.สงขลาจำนวน  97,086.34 ไร่ และจ.นครศรีธรรมราช จำนวน 121,029.12 ไร่ และเมื่อเทียบกับปี 2564/65 ที่ทำนา จ.พัทลุง จำนวน 110,788 ไร่ จ.สงขลา จำนวน 122,070 ไร่ จ.นครศรีธรรมราช จำนวน 179,333 ไร่ ซึ่งการทำนาจากตัวเลขได้ลดไปเป็นจำนวนมาก

ส่วนโรงสีข้าวก็เช่นกันกับการผลิตข้าว รวมประมาณ 4,872 ตัน / ชั่วโมง จากผลผลิตข้าว 3 จังหวัด 412,191 ไร่ จำนวน 185,485 ตัน ซึ่งโรงสีข้าวภาคใต้ 3 จังหวัด ที่จดทะเบียนกับกรมการค้าภายใน จ.นครศรีธรรมราช 28 โรง กำลังการผลิตจำนวน 1,742 ตัน / 24 ชม. วัน จ.สงขลา 22 โรง จำนวน 2,240 ตัน และ จ.พัทลุง 14 โรงกำลังการผลิตจำนวน 890 ตัน / 24 ชม. ภาพรวมทำงานได้เพียง 45 วัน ข้าวก็หมดแล้ว ซึ่งทำงานไม่เต็มกำลังการผลิต / ฤดูกาล เหลือจากนั้นเป็นว่างสูญเสียการสร้างงานสร้างรายได้

นายสุทธิพร กล่าวอีกว่า รัฐบาลจะต้องมีนโยบายหันมาดูแลอย่างจริงจัง และควรที่จะดำเนินการทันที  และจะต้องรักษานาข้าวในพื้นที่ภาคใต้เอาไว้เพื่อความมั่นคงทางด้านอาหาร และให้เป็นพื้นที่พิเศษนาข้าว ก็จะเป็นเหตุที่จะสร้างมูลจูงใจให้หันมาทำนากัน เพราะมีความยั่งยืนในอาชีพ. และที่โรงเรียนบ้านกระอาน หมู่ 4 ต.ท่าม่วง อ.เทพา จ.สงขลา นายบุญพาศ รักนุ้ย รองเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้  (ศอ.บต.) เปิดงานเก็บข้าวเกี่ยวรัก ปี 6 โครงการโรงเรียนยุวชนชาวนา หลังจากที่นายสิทธิชัย เทพภูษา นายอำเภอเทพา จ.สงขลา ร่วมกับกลุ่มสตรีฟื้นฟูนาร้างและครูนักเรียนโรงเรียนบ้านกระอาน ร่วมกันดำนาและใช้ 120 วัน จำนวน 16ไร่ สุกพร้อมเกี่ยวเมื่อกลางเดือนมีนาคม 66 ที่ผ่านมาและทุกฝ่ายได้ร่วมลงแขกเกี่ยวข้าวพร้อมกัน

ส่วนข้าวที่ปลูกเป็นข้าวช่อขิง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวพื้นเมืองของชุมชนบ้านกระอาน อ.เทพา จ.สงขลาผลผลิตข้าวช่อขิง ทั้ง 16ไร่ จะแบ่งเป็น 3 ส่วน คือแบ่งให้ครัวเรือนยากจน แบ่งให้กลุ่มสตรี และโรงเรียนกินนอนตามโครงการพระราชดำริ.