ผู้ตรวจกษ.เขตที่ 14 ประชุมติดตาม ขับเคลื่อนเร่งรัดและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนชาวศรีสะกษ

ผู้ตรวจกษ.เขตที่ 14 ประชุมติดตาม ขับเคลื่อนเร่งรัดและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนชาวศรีสะกษ





ad1

ศรีสะเกษ-"นายชูชาติ  รักจิตร"ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เขตตรวจราชการที่ 14  ประชุมติดตาม  ขับเคลื่อนเร่งรัด  และแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ

เมื่อวันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 นายชูชาติ รักจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เขตตรวจราชการที่ 14   เป็นประธานการประชุมการตรวจติดตามงาน  ขับเคลื่อน  เร่งรัดการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในเขตพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษ  โดยมีนายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ และหัวหน้าส่วนราชการสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1 โครงการชลประทานศรีสะเกษ

       ชูชาติ รักจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร

โดยในที่ประชุมโครงการชลประทานศรีสะเกษ นายจำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทาน ได้รายงานเสนอสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษมีเขื่อนขนาดใหญ่จำนวน 2 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 139.44 ล้านลูกบาศก์เมตร  ปัจจุบันเก็บกักน้ำได้ 117.9 9 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 64.61%  อ่างเก็บน้ำขนาดกลางจำนวน 16 แห่ง เก็บกักน้ำได้ 208.34  ล้านลูกบาศก์เมตร  ปัจจุบันเก็บกักได้ 95.02 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 45.61% โดยปัจจุบันโครงการชลประทานศรีสะเกษได้เฝ้าระวังทั้งด้านสถานการณ์ภัยแล้ง  และเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝน ปี 2566

 โดยยึดหลัก 12 มาตรการ และ  6 แนวทางปฏิบัติของกรมชลประทานเป็นแนวทางปฏิบัติ รวมถึงการนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมโดยก่อสร้างระบบการผันน้ำ เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ จำนวน 2 โครงการ  ได้แก่  1. โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำจากลำห้วยสำราญไปลำห้วยทาและลำห้วยขยูง   2. โครงการก่อสร้างระบบผันน้ำลำห้วยสำราญรอบเมืองศรีสะเกษ(By pass) เพื่อช่วยเหลือราษฎรในเขตเทศบาลเมืองศรีสะเกษ

                        จำรัส สวนจันทร์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ

นอกจากนั้นแล้วผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ ยังได้นำเสนอโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในการสืบสาน  รักษา  ต่อยอด  ที่สำนักงาน  กปร. คัดเลือกอ่างเก็บน้ำห้วยตาจู  จังหวัดศรีสะเกษ เป็น 1 ใน 18 โครงการทั่วประเทศในการสืบสาน  รักษา  ต่อยอดดังกล่าว

ซึ่งผู้ตรวจราชการฯ ได้กำชับให้โครงการฯ จัดทำรายละเอียดเบื้องต้นเพื่อเสนอไปยังสำนักงานบริหารโครงกา กรมชลประทาน เพื่อจะได้ศึกษาและดำเนินการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษต่อไป ส่วนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น ขอให้โครงการวางแผนด้านการใช้น้ำอย่างประหยัด ซึ่งในปี 2566 นี้อาจจะเกิดปัญหาภัยแล้งได้ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ให้ความสำคัญกับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริต่างๆด้วย

สำหรับการรายงานของหน่วยงานต่างๆในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นั้น หัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ได้นำเสนอด้านเกษตรของจังหวัด  สรุปผลการวิเคราะห์สินค้าเกษตรที่สำคัญของจังหวัด  รายงานสถานการณ์ด้านการเกษตร  การวิเคราะห์ความเสี่ยงต่อปัญหาความเดือดร้อนในพื้นที่  ซึ่งในที่ประชุมผู้ตรวจราชการฯ ได้กำชับส่วนราชการต่างๆให้ปฎิบัติหน้าที่ในส่วนที่รับผิดชอบในการแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนในพื้นที่อย่างเร่งด่วน

ทั้งด้านปศุสัตว์  ด้านประมง  และด้านการเกษตร ฯลฯ โดยให้ยึดถือเป้าหมายและผลสำเร็จของงานเป็นหลัก  และขอให้ขับเคลื่อนใน 2 ประเด็นเร่งด่วน ได้แก่  เกษตรมูลค่าสูง  1 อำเภอ   1 หมู่บ้าน  1  ขับเคลื่อน   และ BCG  Model  ซึ่งจังหวัดศรีสะเกษจะเป็นโครงการนำร่องในโครงการดังกล่าว  และผู้ตรวจราชการฯ จะมาตรวจราชการเพื่อติดตามและร่วมแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของราษฎรในพื้นที่จังหวัดศรีสะเกษอีกครั้งในช่วงเดือนสิงหาคม  2566

ทั้งนี้ก่อนการประชุมดังกล่าว  ผู้อำนวยการโครงการชลประทานศรีสะเกษ  ได้นำเสนอการบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำโขง  ชี  มูล ในรูปแบบของหุ่นจำลอง(Model) ในด้านการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมจังหวัดศรีสะเกษอีกด้วย

เสนาะ วรรักษ์/รายงาน